ประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จ.เชียงใหม่

วันที่ 22 ธันวาคม 2561 พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารจากสพฐ.ศึกษาธิการภาค 15 ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียน คณะกรรมการภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน การศึกษาทางเลือก กลุ่มนวัตกรรมการศึกษา ใน 7 กลุ่มโรงเรียนจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 150 คน เพื่อนำเสนอนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จสามารถนำไปเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆได้ ในบริบทใกล้เคียงกัน ให้สามารถนำแนวทางไปประยุกต์ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงใหม่

โอกาสนี้ ดร.สิทธิชัย มูลเขียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ร่วมให้การต้อนรับและเข้าประชุมฯ โดยมี สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 นำเสนอผลงานนวัตกรรม จำนวน 5 โรงเรียน ดังนี้

1.โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ เรื่อง การเลี้ยงจิ้งหรีดคิดค้นนวัตกรรมการให้อาหาร โดย นายวิทยา ณ เชียงใหม่ ครูโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

2.โรงเรียนแม่แตง เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้ DLIT MAETANG MODEL โดย นายเฉลิมพล ดอนดี รองผู้อำนวยการโรงเรียนแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

3.โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา STAR STEMS ด้วยรูปแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการ TEPACK MODEL โดย ดร.เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์ ครูโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

4.โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม เรื่อง การปลูกฝังคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ด้วยเทคนิค PINTHO การบริหารจัดการภายในโรงเรียน โดย นางนิตยา ศรีสุวรรณ์ และ นางสาวเจนใจ สุธีพรวิโรจน์ ครู โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่

5.โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เรื่อง JEAMS Model รูปแบบบริหารเชิงวิชาการในโครงการพัฒนางานวิจัยในชั้นเรียน โดย นางอรชร อินทกุล ครู โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คณะครูได้นำเสนอผลการดำเนินงานในประเด็น สภาพปัจจุบัน จุดเด่น จุดด้อย/ปัญหาและแนวทางพัฒนาที่ตอบโจทย์ผู้เรียนและพื้นที่ ดังนี้ 1. หลักสูตรและการเรียนรู้ 2. สื่อการสอนและตำราเรียน 3. การประเมินผู้เรียน 4. การประเมินโรงเรียน 5. บุคลากร

ภาพ: พิชยา หมวกทอง พนักงานราชการ