สพป.เชียงใหม่ เขต 1 จัดกิจกรรมการคัดเลือกผลงานของครูผู้สอนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ระดับปฐมวัย

วันที่ 3 สิงหาคม 2567 ดร.อนุกูล ศรีสมบัติ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 (ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต 1) มอบหมายให้ นายวัลลภ ภูจอมจิตร รอง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดกิจกรรมการคัดเลือกผลงานของครูผู้สอนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามแนวการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ระดับปฐมวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 โดยมี นางพิราวรรณ ลีลาธรรมสัจจะ ศึกษานิเทศก์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย ให้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  ตามแนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ในระดับปฐมวัย พัฒนาครูผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย เป็นครูที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) นำไปใช้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามบริบทของสถานศึกษาและเพื่อคัดเลือกผลงานของครูผู้สอนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามแนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ระดับปฐมวัย และนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีได้ต่อไป จัดขึ้น ณ ห้องประชุมล้านเงิน สพป.เชียงใหม่ เขต 1
           ตามนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยวัยที่มีอายุ 3 – 6 ปีทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการดูแลปกป้อง เพื่อให้มีพัฒนาการครบทุกด้าน โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ให้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยมีเป้าหมายโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับปฐมวัยทุกแห่งจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
         สพป.เชียงใหม่ เขต 1 จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงเรียนให้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ระดับปฐมวัย เพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งผลด้านการปฏิรูปผู้เรียนและการยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับปฐมวัย เพิ่มประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยให้มีคุณภาพต่อไป