สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ดำเนินการจัได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภายภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 16 -18 กันยายน 2567 โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (DLICT) ณ ห้องประชุมโรงแรมดิไอเดิล โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ฯ และการประชุมสำหรับผู้ทำหน้าที่ของกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลฯ (DLICT) และผู้เกี่ยวข้อง ทางระบบออนไลน์ (Online) รวมทั้งสิ้น 545 คน
ซึ่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567ที่ผ่านมา ที่ประชุมฯได้ร่วมรับฟังการแถลงนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ) และ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล) ตามแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” แก่ผู้บริหาร และบุคลากรในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งได้แถลงผ่านระบบออนไลน์ทั่วประเทศ เน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกัน“ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” ซึ่งมีนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา ประกอบด้วย 1) จัดสรรสวัสดิการด้านการศึกษา ฯลฯ 2) ส่งเสริมการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพของเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม 3) เด็กไทยเข้าถึงศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีมาตรฐานได้เรียนหนังสือที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล 4) ส่งเสริมการปลดล็อคศักยภาพทั้งด้านศิลปะ วัฒนธรรมและกีฬา 5) พัฒนาระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ทั้งในระบบ บอกระบบตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสนับสนุน ตอบโจทย์ ศักยภาพผู้เรียน ลดภาระและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 6) ส่งเสริมการเรียนสองภาษาโดยใช้ A! 7) เน้นสอนทักษะที่ใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริงเพื่อสร้างรายได้ (Learn to Earn) 8) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐองค์กรป้องครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ 9) เฟ้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา 10) ส่งเสริมการปฏิรูประบบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในอนาคตรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life long-learning)
นางพวงทอง ศรีวิลัย ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) ประธานเปิด กล่าวว่า ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายการศึกษา “เรียนดี มีความสุข” ลดภาระนักเรียน ผู้ปกครอง โดยส่งเสริมการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) เรียนฟรี มีงานทำ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษานั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งสถานศึกษาและบุคลากรในสังกัด และสิ่งสำคัญก็คือการพัฒนาครูผู้สอน และบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะได้รับการพัฒนา รวมทั้งการนำ Ai มาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้เกิดผลสำเร็จ
ด้าน นางสาวเปรมฤทัย เลิศบำรุงชัย ผอ.กลุ่มพัฒนาระบบและเครือข่ายเทคโนโลยี สทร. ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การปฏิบัติตามนโยบายด้านการศึกษานั้น ในระยะแรกนั้นอาจดูเหมือนเป็นการสร้างภาระให้กับครูผู้และผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ สร้างความตระหนักและความเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้ทันสมัยและหลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้อย่างมีความสุข จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งสริมการเรียนรู้ เรียนได้ทุกเวลา ขับเคลื่อนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี ได้รับความรู้และมีเทคนิคในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายรูปแบบ พร้อมได้แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคนิคในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งกันและกัน และที่สำคัญ สทร.สพฐ. ได้ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลฯ (DLICT) ทั้ง4 ภูมิภาค ได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยได้จัดทำระบบบริหารจัดการสถานศึกษา (Digital School Administration Platform : DSAP) : ด้านการบริหารจัดการผู้ใช้ (UMS) ด้านบริหารจัดการงานนักเรียน (SMS) ด้านบริหารจัดการงานวิชาการ (AMS) ด้านการบริหารจัดการงานบุคลากร (PMS) ด้านบริหารงานสํานักงาน (GMS) ด้านบริหารจัดการแผนงานและงบประมาณ (PBMS) และ ดิจิทัลแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform : NDLP) : ด้านบริหารจัดการผู้ใช้งาน (UsMS) ด้านสนับสนุนครูผู้สอน (TeMS) ด้านบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ (NLMS) ด้านบริหารจัดการเนื้อหาองค์ความรู้แห่งชาติ (NCMS) ด้านการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้แบบเปิด (OLS) ด้านตลาดการเรียนรู้ (EDU Marketplace) ด้านบริหารจัดการระบบธนาคารเครดิตวิชาการแห่งชาติสําหรับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NAMS)
สิ่งที่ได้จากการประชุม
1. การประชุมดังกล่าวเป็นการพัฒนาบุคลากร และชี้แจงการบริหารงานและการดำเนินการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ของกระทรวงศึกษาธิการ แก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่ง ให้มีความพร้อมและทักษะ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาระบบเครือข่ายส่งเสริมส่วนร่วมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนโครงการภารกิจ กิจกรรมและงานเทคโนโลยีดิจิทัลในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะโครงการ/กิจกรรม การดำเนินงานที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และ 2568 ดังนี้
1.1 ขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน (Digital School Administration Platform: DSAP)
1.2 ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา โดยแพลตฟอร์มระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform : NDLP) และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน
1.3 ขับเคลื่อนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
1.4 ระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.5 การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ OBEC Channel
1.6 ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์
1.7 การบริหารจัดการงบประมาณ กำกับ ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง PDPA & Data Governance
3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง General Security Awareness Training
4. เรื่อง การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของ สพฐ.
4.1 การบูรณาการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.2 การพัฒนาสมรรถนะนักเทคโนโลยีดิจิทัลในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4.3 ระบบราชการไทยแลนด์ 4.0 ในบริบทของ สพฐ.
5. อภิปราย เรื่องแผนการขับเคลื่อนการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม และแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในด้านต่างๆ ดังนี้
5.1 การขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
5.2 ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
5.3 นวัตกรรมหรือเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
5.4 ระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
5.5 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
การพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในครั้งนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการเตรียมพร้อมการ“ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของ พลเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
// ชาตรี ทวีนาท , เปรมฤทัย เลิศบำรุงชัย รายงาน
- สพฐ.สร้างเครือข่ายด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 4 ภูมิภาค “ปฏิวัติการศึกษา แก้ปัญหาประเทศ” - 18 กันยายน 2024
- ประชาสัมพันธ์งาน Thailand’s Education Technology Expo 2024 - 12 กันยายน 2024
- ประชาสัมพันธ์และเชิญนิสิตนักศึกษา บุคลากรเข้าร่วมเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโครงการ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C) - 11 กันยายน 2024