วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วย นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย รองโฆษก ศธ. เข้าร่วมการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 41/2567 โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารหน่วยงานใน ศธ. และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกันนี้นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting
.
โดยที่ประชุมมีการสรุปผลความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ในส่วนของ สพฐ. ได้รายงานการขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ รุ่นที่ 1 วันที่ 22 – 30 พฤศจิกายน 2567 จำนวน 15,515 คน ซึ่งตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินงานและขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ได้แก่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ผู้บริหาร ศน. อบรมฯ รุ่นที่ 1 ครบ ร้อยละ 100 2) สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 ผู้บริหาร ศน. อบรมฯ รุ่นที่ 1 ครบ ร้อยละ 100 และ 3) โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม สพม.เชียงใหม่ ผู้บริหาร ครู เข้าอรมฯ รุ่นที่ 1 ร้อยละ 83 นอกจากนี้ มีการขยายเครือข่ายเพื่อนำองค์ความรู้ PISA ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนกีฬา และจะมีการขยายผลสู่โรงเรียนเอกชนในสังกัด สช.
.
ด้านโครงการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา “เด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น” ที่ประชุมมีการปรับนิยามเด็กนอกระบบการศึกษา (Out Of School: OOSC) ในระบบข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้ตรงกัน โดย เด็กออกนอกระบบการศึกษา หมายถึง เด็กสัญชาติไทยที่ไม่ได้เข้าถึงการจัดการศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน โดยการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในวัยเรียน ช่วงอายุ 3-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 1,025,514 ล้านคน แบ่งเป็น การติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา เด็กไทย 767,304 คน ติดตามได้ 365,231 คิดเป็น ร้อยละ 47.60 ยังติดตามไม่ได้ 402,073 คน คิดเป็นร้อยละ 52.40 และการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา เด็กต่างชาติ 258,210 คน ติดตามได้ 31,816 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.32 ยังติดตามไม่ได้ 226,394 คน คิดเป็นร้อยละ 87.68 โดยมีการขับเคลื่อนในการปรับระบบร่วมกันของทุกหน่วยงาน (Finetune) ได้แก่ การใช้นิยามเด็กนอกระบบการศึกษาให้ตรงกันทุกหน่วยงาน โดยใช้ฐานข้อมูลของ ศนท.สป.ศธ.เป็นหลัก และใช้ระบบ OBEC Zero Dropout ของ สพฐ. ในการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา รวมถึงตรวจสอบข้อมูลเด็กในสถานพินิจและเด็กในวัยเรียน ที่เรียนในต่างประเทศ ร่วมด้วย โดย “ป้องกัน แก้ไข ส่งต่อ” และ “ติดตามดูแล เข้ามาแล้ว ต้องไม่ให้หลุดอีก”
.
ขณะที่กิจกรรมการอบรม “กล่องความรู้ สู่ความสุข” ยอดติว TGAT/TPAT วันแรกแตะ 200,000 คน คาดยอดชมพุ่งขึ้นอีกจนถึงก่อนสอบ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่นักเรียนสนใจเข้าร่วม ของขวัญกล่องความรู้สู่ความสุข วันแรกยอดนักเรียนเข้าเกือบสองแสนคน
.
ข้อมูล : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.
- รองเลขาธิการ กพฐ. “พัฒนะ” เปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานทางวิชาการ พร้อมบรรยายพิเศษ ณ โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ - 17 มกราคม 2025
- ศธ. ปลื้ม Mindset สภานักเรียนวันเด็ก เร่งหนุนข้อเสนอพลิกโฉมการศึกษา ตั้งเป้าทำฝันนักเรียนให้เป็นจริง - 17 มกราคม 2025
- สพฐ. จับมือ มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ และภาคีเครือข่าย ลงนาม MOU ส่งเสริมทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น สร้างพื้นที่สีเขียว - 17 มกราคม 2025