ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. “ภูธร” ปิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขัน กิจกรรมการเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 2567

วันที่ 11 ธันวาคม 2567 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานปิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขัน กิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระดับประเทศ โดยมี นายอุทิศ บัวศรี อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นางสมพร สมผดุง ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต ผู้แทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะครู เข้าร่วม ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรที่ได้รับรางวัล และขอชื่นชมทุกท่านที่มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการนำเสนอผลงานในกิจกรรมต่าง ๆ โดยการประกวดนี้เป็นการเสริมขวัญกำลังใจและสร้างเครือข่ายการศึกษาร่วมกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดจากกิจกรรมคือประสบการณ์และการเรียนรู้ที่นำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองและองค์กร เพื่อให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด, วินัย, ซื่อสัตย์สุจริต, พอเพียง และจิตสาธารณะ โดยโครงการนี้ได้ร่วมมือกับสำนักงาน ป.ป.ช. ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและการต่อต้านการทุจริตมาเป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษ เพื่อปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่ต่อต้านการทุจริตและเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไป

สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นการประกาศผลรางวัล จากการตัดสินการประกวดแข่งขันที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 วัน โดยคณะกรรมการผู้มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่งตั้ง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจกรรมต่าง ๆ โดยหลังจากนี้จะเป็นพิธีมอบโล่รางวัล ให้ผู้นำเสนอผลงานในแต่ละกิจกรรม รวม 8 กิจกรรม 14 รายการโดยรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับสี่

โดยสรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขันกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี ระดับประถมศึกษา จำนวน 28 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 24 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 4 ผลงาน

กิจกรรมบริษัทสร้างการดี ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 26 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 11 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 15 ผลงาน

2) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ผู้บริหาร จำนวน 27 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 27 ผลงาน

3) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ครู จำนวน 28 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 22 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 6 ผลงาน

4) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต จำนวน 20 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 14 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 6 ผลงาน

5) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต จำนวน 18 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 16 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 2 ผลงาน

6) กิจกรรมการใช้และประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา จำนวน 27 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 9 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 13 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดี จำนวน 5 ผลงาน

7) กิจกรรมหนังสือเล่มเล็กจากผลการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต)

ช่วงชั้นที่ 1 การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม จำนวน 11 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 5 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 4 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดี จำนวน 2 ผลงาน

ช่วงชั้นที่ 2 ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต จำนวน 14 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 5 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 9 ผลงาน

ช่วงชั้นที่ 3 STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต จำนวน 15 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 6 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 9 ผลงาน

ช่วงชั้นที่ 4 พลเมืองกับความผิดชอบต่อสังคม จำนวน 15 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 6 ผลงาน

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 9 ผลงาน

8) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต ระดับประถมศึกษา จำนวน 5 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 5 ผลงาน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (โรงเรียนขยายโอกาส) จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 3 ผลงาน

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 ผลงาน ได้แก่

– ผลงานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเยี่ยม จำนวน 5 ผลงาน

นางสาวฐิติมา ชาลีกุล
Latest posts by นางสาวฐิติมา ชาลีกุล (see all)