.
วันที่ 13 ธันวาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.มอบหมายให้ นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิด พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “นโยบายความร่วมมือในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วยการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง” ในกิจกรรมเวทีจัดการความรู้เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการกศึกษา (กสศ.) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
.
นายพัฒนะ (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการกศึกษา (กสศ.) มีความร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพครูและโรงเรียน เพื่อให้เกิดโรงเรียนที่พัฒนาคุณภาพตนเองได้ทั้งระบบ เกิดการดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยเฉพาะเด็กที่ยากจนและด้อยโอกาสมาตั้งแต่ปี 2561 อย่างต่อเนื่องในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาแนวทางของการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน ที่ส่งผลกระทบไปถึงเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิต และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่ สพฐ. และ กสศ. มองเห็นร่วมกัน คือ ต้องการให้เด็กและเยาวชนในวัยเรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และสามารถที่จะช่วยเหลือและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กได้ ซึ่งก็เป็นการทำงานร่วมกันตามนโยบาย Thailand Zero Dropout
.
นายพัฒนะ กล่าวต่อไปว่า รู้สึกยินดียิ่งขึ้น เมื่อทราบว่าการทำงานร่วมกันของโครงการ TSQM นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่โรงเรียนในเครือข่าย สพฐ. แต่ยังเกิดพลังร่วมในพื้นที่ ที่มีการขยายผล เรียนรู้ร่วมกันของโรงเรียน สพฐ. กับโรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกันกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ รวมถึงเกิดกลไกคณะทำงานของจังหวัด เกิดเครือข่ายโรงเรียนที่ทำงานร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน และเสริมต่อพลังของการบูรณาการความร่วมมือให้เข้มแข็ง เสริมต่อต้นทุนจากพื้นที่ร่วมกันจนเกิดเป็นภาคีร่วมดำเนินงานที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะร่วมกันดูแลช่วยเหลือ และสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนของพวกเราได้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็ก และให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกทางการศึกษาที่หลากหลาย และสอดคล้องตามความต้องการ
.
“ตามนโยบายของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ที่กล่าวว่า จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน เชื่อได้ว่า ถ้าทุกท่าน ทุกองค์กร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงชุมชน ผู้ปกครอง และภาคส่วนอื่น ๆ ในพื้นที่ รวมพลัง เดินไปด้วยกัน ในฐานะของหน่วยงานต้นสังกัดในระดับนโยบาย สพฐ. เองนั้น มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมสนับสนุนร่วมกับ กสศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง เกิดการพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา เกิดพลังของการเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสร้างให้เกิดระบบการศึกษา และการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทางเลือกในการเข้าถึงการศึกษา ทางเลือกของการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลายอย่างมีคุณภาพ และสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศได้อย่างยั่งยืน” รองเลขาธิการ กล่าว
.
ขอบคุณภาพ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการกศึกษา (กสศ.)
วันที่ 13 ธันวาคม 2567 นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นประธานเปิด พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ “นโยบายความร่วมมือในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาด้วยการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง” ในกิจกรรมเวทีจัดการความรู้เพื่อการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQM) โดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
.
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีความร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพครูและโรงเรียน เพื่อให้เกิดโรงเรียนที่พัฒนาคุณภาพตนเองได้ทั้งระบบ เกิดการดูแลช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยเฉพาะเด็กที่ยากจนและด้อยโอกาสมาตั้งแต่ปี 2561 อย่างต่อเนื่องในมิติที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาแนวทางของการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียน ที่ส่งผลกระทบไปถึงเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิต และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น ซึ่งเป้าหมายสำคัญที่ สพฐ. และ กสศ. มองเห็นร่วมกัน คือ ต้องการให้เด็กและเยาวชนในวัยเรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และสามารถที่จะช่วยเหลือและป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กได้ ซึ่งก็เป็นการทำงานร่วมกันตามนโยบาย Thailand Zero Dropout
.
นายพัฒนะ กล่าวต่อไปว่า รู้สึกยินดียิ่งขึ้น เมื่อทราบว่าการทำงานร่วมกันของโครงการ TSQM นี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่โรงเรียนในเครือข่าย สพฐ. แต่ยังเกิดพลังร่วมในพื้นที่ ที่มีการขยายผล เรียนรู้ร่วมกันของโรงเรียน สพฐ. กับโรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกันกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ รวมถึงเกิดกลไกคณะทำงานของจังหวัด เกิดเครือข่ายโรงเรียนที่ทำงานร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อน และเสริมต่อพลังของการบูรณาการความร่วมมือให้เข้มแข็ง เสริมต่อต้นทุนจากพื้นที่ร่วมกันจนเกิดเป็นภาคีร่วมดำเนินงานที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะร่วมกันดูแลช่วยเหลือ และสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนของพวกเราได้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็ก และให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกทางการศึกษาที่หลากหลาย และสอดคล้องตามความต้องการ
.
“ตามนโยบายของ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่กล่าวว่า จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน เชื่อได้ว่า ถ้าทุกท่าน ทุกองค์กร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงชุมชน ผู้ปกครอง และภาคส่วนอื่น ๆ ในพื้นที่ รวมพลัง เดินไปด้วยกัน ในฐานะของหน่วยงานต้นสังกัดในระดับนโยบาย สพฐ. เองนั้น มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมสนับสนุนร่วมกับ กสศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเอง เกิดการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เกิดพลังของการเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อสร้างให้เกิดระบบการศึกษา และการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทางเลือกในการเข้าถึงการศึกษา ทางเลือกของการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลายอย่างมีคุณภาพ และสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศได้อย่างยั่งยืน” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
.
ขอบคุณภาพ : กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)