สพม.34 (เชียงใหม่ – แม่ฮ่องสอน) จัดอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์ทางสังคมและภาพอนาคตเพื่อยกระดับการคิด การวิเคราะห์ การอ่านและการเขียนของผู้เรียน ระหว่าง วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2562 ณ โรมแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 6 กรกฎาคม 2562 ดร.สิทธิชัย มูลเขียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เป็นประธานพิธีเปิดอบรมโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์ทางสังคมและภาพอนาคตเพื่อยกระดับการคิด การวิเคราะห์ การอ่านและการเขียนของผู้เรียน ให้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 207 คน
โดย นางสาวอรสา ดีทุ่ง ศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดอบรม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีนโยบายส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานำแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในทุกรายวิชา โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน ให้ครูปรับบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา สร้างองค์ความรู้ใหม่ จนส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะของครูผู้สอนในการสร้างกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้แนวใหม่ จึงได้ร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศึกษานิเทศก์ทุกคนในสังกัด ดำเนินโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์ทางสังคม และภาพอนาคต เพื่อยกระดับการคิด การวิเคราะห์ การอ่านและการเขียนของผู้เรียน ด้วยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและระบบพี่เลี้ยง โดยมีกำหนดการพัฒนาระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2562
ด้าน ดร.สิทธิชัย มูลเขียน ประธานในพิธีกล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กในยุคปัจจุบันเป็นความท้าทายของครูอย่างมาก ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนไม่ใช่การพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างเดียว ครูต้องมาทบทวนว่า จะทำอย่างไร ที่จะบูรณาการศาสตร์ความรู้รายวิชาต่างๆ มาเชื่อมโยงเข้ากับสภาพของผู้เรียนปัจจุบันอย่างมีความหมาย จะสอนอย่างไรให้พัฒนานักเรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้เดิมจากประสบการณ์ที่ตนเองพบเจอเข้ากับองค์ความรู้ใหม่ จนสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่นักเรียนได้รับนั้นมาเป็นความรู้ที่คงทนของตนเอง นั่นหมายถึงครูต้องพัฒนาให้นักเรียนเป็นผู้มีทั้งทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ และทักษะการดำเนินชีวิตที่ตอบโจทย์พลเมืองในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือได้ว่าการยะระดับคุณภาพการศึกษาคือการยกระดับคุณภาพประชาการของประเทศได้อย่างดี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 เห็นว่าการพัฒนาครูให้มีความรู้ควบคู่ทักษะกระบวนการสอนที่ดีด้วยแนวทาวการสอนรูปแบบใหม่ จะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด กระบวนการ ทักษะ ความรู้ที่ดีไปสู่ผู้เรียนได้ จึงได้ดำเนินการร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดทำโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเชิงพื้นที่ด้วยการวิจัยและพัฒนาเป็นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2562 หลักสูตร : การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ ปรากฏการณ์ทางสังคมและภาพอนาคตเพื่อยกระดับการคิด การวิเคราะห์ การอ่านและการเขียนของผู้เรียน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นการพัฒนาครูให้สามารถปรับการเรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการสอนจนไปสู่การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สนองการจัดการศึกษาแก้ปัญหาตามบริบทท้องถิ่นจนนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 แบบมั่นคงและยั่งยืน
โอกาสนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ขอขอบคุณคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยากร คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนทำให้เกิดการอบรมและพัฒนาในครั้งนี้
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนเป็นรายบุคคล, การวางแผนการจัดการเรียนการสอนแบบ(Active Learning) ผ่านบูรณาการแหล่งเรียนรู้เรียนรู้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ปรากฏการณ์ทางสังคมและภาพอนาคตเพื่อยกระดับการคิด การวิเคราะห์ การอ่านและการเขียน เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน, การอออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนแบบ(Active Learning) ฯ, การนำเสนอและการสะท้อนคิดแผนการจัดการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนแบบ(Active Learning) ฯ ,แนวทางการสร้างเครื่องมือและประเมินผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนเพื่อยกระดับการคิด วิเคราะห์ การอ่านและการเขียนของผู้เรียน
- สพม.เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2567 - 12 กันยายน 2024
- สพม.เชียงใหม่ ติดตาม การจัดสรรโอนงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา - 11 กันยายน 2024
- สพม.เชียงใหม่ ประชุมจัดทำแผนการออกตรวจร่วมเฝ้าระวังเหตุและสร้างความปลอดภัยให้นักเรียนเชียงใหม่ปลอดภัยและห่างไกลยาเสพติด - 10 กันยายน 2024