วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 เวลา 09.00 น. นายโกมุท รุยอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรทำมาค้าขาย “การมีงานทำ มีอาชีพ” ตามพระบรมราโชวาทด้านการศึกษา ของในหลวงรัชกาลที่ 10 ขยายสู่โรงเรียนในพื้นที่อำเภอธารโต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรทำมาค้าขาย โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ครูผู้เป็นหัวหน้าหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนที่มีศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอาชีพให้กับนักเรียน เข้าร่วมประชุมจำนวน 70 คน ซึ่งมีนายประกอบมณีโรจน์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่านสันติราษฎร์และคณะมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และบทเรียน ณ ห้องประชุมบาลา ฮาลา อาคาร 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 นายโกมุท รุยอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการอบรมจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อรองรับการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเมืองต้นแบบ การพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนสำหรับสถานศึกษาในพื้นที่บริการอำเภอเบตง ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่จำนวน 8 เรื่อง เช่น แหล่งท่องเที่ยว อาหาร ประเพณีและวัฒนธรรม ภาษา การบริการ เอกลักษณ์ของเมืองเบตง ศาสตร์พระราชา ทักษะในศตวรรษที่ 21 และในปีนี้ได้มีแนวคิดที่จะขยายผลโครงการให้ครบทุกโรงเรียนในพื้นที่บริการอำเภอธารโต จึงได้กำหนดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรทำมาค้าขาย “การมีงานทำ มีอาชีพ” ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของในหลวงรัชกาลที่ 10 ขึ้นให้กับสถานศึกษาในอำเภอธารโต ระหว่างวันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานสานพระราชปณิธานด้านการศึกษาของรัชกาลที่ 9 และพระราโชบายรัชกาลที่ 10 ในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ที่มุ่งให้การศึกษาต้องสร้างพื้นฐานแก่นักเรียน ในเรื่องการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม การมีงานทำมีอาชีพ และการเป็นพลเมืองดี รวมไปถึงการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรทำมาค้าขาย การมีงานทำ และตระหนักถึงความสำคัญที่จะขับเคลื่อนนโยบายลงสู่สถานศึกษาครบทุกโรงเรียนอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างหลักภูมิคุ้มกันในการประกอบอาชีพให้กับตนเองในอนาคต อย่างไรก็ตาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้จะนำแนวทางการมีงานทำ มีอาชีพสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ด้วยการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning และตลอดทั้งปีการศึกษามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะเกิดขึ้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาต้องมีแผนการกำกับติดตาม รวมถึงมีหน่วยงานไหนบ้างที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างการรับรู้ให้ผู้ปกครองเข้าใจอย่างถูกต้อง เช่นมีการจัดประชุม กำหนดช่องทางการสื่อสาร การทำเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อสำรวจหรือแจ้งผู้รับผิดชอบทราบโดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด
เกสรี ปชส.สพป.ยะลา เขต 3 ภาพ/ข่าว
- ผู้ตรวจราชการ สพฐ.และศึกษาธิการภาค 7 ลงพื้นที่รับฟังรายงานและเยี่ยมบ้านนักเรียนเชิงประจักษ์ตรวจสอบความพร้อมการจัดการเรียนการสอนทางไกล ในสถานการณ์ covid-19 ที่อำเภอเบตง - 14 มิถุนายน 2020
- สพป.ยล.3 เกาะติดพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนวันแรกการจัดการเรียนการสอนทางไกล DLTV เพื่อจัดเก็บข้อมูลและแนะนำการใช้สื่ออุปกรณ์ ช่วงโควิด-19 - 19 พฤษภาคม 2020
- สพป.ยล.3 ร่วมกับหน่วยกำลัง 3 ฝ่ายประชุมมาตรการรปภ.ครู บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา ในการจัดการศึกษาทางไกลช่วงโควิด -19 - 19 พฤษภาคม 2020