สพฐ. ตรวจเยี่ยมโรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย สพป.นครปฐม เขต 1

วันที่ 11 กรกฎาคม  2562   นายอรุณ     พรหมจรรย์    ด้านวิเคราะห์วิจัยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พร้อมด้วยคณะกรรมการ ตรวจติดตามโรงเรียนร่วมพัฒนา  (Partnership  School Project)  โดยมี นายวินัย วิทยานุกูล อดีต ผวจ.กาฬสินธุ์  นางสาวยุพา  ทรัพย์อุไรรัตน์  ศึกษานิเทศก์   นางสมพร  เมืองแป้น ผอ.นโยบายและแผน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พร้อมด้วยนายพิบูลย์   แก้วไทรนันท์  ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู นักเรียน ร่วมให้การต้อนรับคณะกรรมการลงพื้นที่ติดตามงาน การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา ณ   โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย   สพป.นครปฐม เขต 1  เพื่อดูความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการมา 1 ปีแล้ว สามารถบริหารจัดการได้ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในด้านวิชาการและการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยเฉพาะกิจกรรมส่งเสริมอาชีพระหว่างเรียน การทำการเกษตรของนักเรียน ที่สามารถนำผลผลิตที่ได้ไปขาย ได้ทั้งเงินและความรู้ให้เด็กและชุมชนประกอบอาชีพด้วย

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหารโรงเรียน ได้มีส่วนร่วมคิดร่วมพัฒนา และร่วมประเมินติดตามผลการจัดการศึกษา การประเมินครู พัฒนาคุณภาพนักเรียนและชุมชนโดยรอบ โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งระยะที่ 1 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 โรงเรียน ส่วนระยะที่ 2 ได้เพิ่มเป็น 143 โรงเรียนแล้ว  โรงเรียนวัดปลักไม้ลาย ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสยามพรีเสิร์ฟฟู้ดส์  โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชน ท้องถิ่น และผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียน ตลอดจนมีวัดปลักไม้ลายเป็นศูนย์รวมในการส่งเสริมคุณธรรมประเพณี ทำให้นักเรียนเติบโตเป็นกำลังคนที่มีความรู้ทางวิชาการ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนทักษะชีวิต ส่วนโรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มมิตรผล โรงเรียนมีจุดเด่น คือ โครงสร้าง นโยบาย และบทบาทที่ชัดเจน มีเทคโนโลยีสนับสนุนการสอน ภูมิทัศน์สะอาด และกว้างขวางเอื้อต่อการจัดกิจกรรมของชุมชน สิ่งสำคัญคือ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชน ชุมชน และผู้ปกครองเพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนยังมีแผนที่จะพัฒนาอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำวิจัยและนวัตกรรมในชั้นเรียน, การพัฒนาครูในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องการการสนับสนุนงบประมาณจ้างบุคลากรเฉพาะทาง ในส่วนของนักเรียน เน้นส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ ทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และจัดทุนสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส

ชมภาพบรรยากาศที่ลิงค์ด้านล่าง

https://photos.app.goo.gl/b91pEp9PWfds1z8S6