สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 เปิดกิจกรรม “ค่ายนักเรียนแกนนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต”

สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4  จัดค่าย “นักเรียนแกนนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต” 

ระหว่างวันที่ 29-31 กรกฎาคม  2562  สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4  จัดค่าย “นักเรียนแกนนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต”  ณ ห้องประชุมศูนย์การศึกษาพิเศษ  เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี  และได้รับเกียรติจาก  ดร.สุรพล  เสนบุญ  ประธานสถานศึกษา สังกัด สศศ.กลุ่ม 4  เป็นประธานในพิธีเปิด  และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ค่ายนักเรียนแกนนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต และได้รับเกียรติจาก นายมีเกียรติ  นาสมตรึก ผู้อำนวยการโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวรายงาน

ดร.สุรพล  เสนบุญ  ประธานสถานศึกษา สังกัด สศศ.กลุ่ม 4 กล่าวว่า  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ  ได้มอบนโยบายให้สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 จัดโครงการ กิจกรรม การสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยเน้นมาตรการที่เหมาะสมกับช่วงวัยและเป็นระบบต่อเนื่องตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย – อุดมศึกษา ภายใต้กรอบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน ด้านการค้นหา ด้านการรักษาด้านการเฝ้าระวัง และด้านการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาที่เป็นระบบครบวงจร ซึ่งในการดำเนินงานแต่ละด้าน อาจมีจุดเน้นที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงชั้นวัย ช่วงชั้นเรียน และบริบทสถานศึกษา ดังนี้

  1. ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน

พัฒนา ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เพื่อปลูกฝัง หล่อหลอมให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากยาเสพติด เช่น ทักษะสมอง ทักษะชีวิต ทักษะสังคม ฯลฯ โดยผ่านการอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนตั้งแต่ปฐมวัย -อุดมศึกษา รวมถึงการสร้างจิตสำนึกที่ดีควบคู่การมีคุณธรรม จริยธรรม ในส่วนของช่วงวัยปฐมวัยและประถมศึกษา ต้องอาศัยกลไกครูเป็นหลักในการถ่ายทอดสร้างการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพได้และในส่วนของช่วงวัยมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ต้องอาศัยกลไกเพื่อนเป็นหลักในการถ่ายทอดสร้างการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพได้

  1. ด้านการค้นหา

สำรวจ ค้นหา คัดกรอง โดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การสังเกต ซักถาม ฯลฯ และแบ่งกลุ่ม เพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เหมาะสม ได้แก่ กลุ่มทั่วไป กลุ่มเสี่ยง กลุ่มใช้ยาเสพติด

  1. ด้านการรักษา

ให้โอกาสเมื่อเด็กพลั้งพลาดเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือมีแนวโน้มเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยการปรับความคิด พฤติกรรม สร้างค่านิยมใหม่ ดูแลช่วยเหลือ ติดตามอย่างใกล้ชิด ระหว่าง ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ทั้งนี้ สถานศึกษาจะต้องเปิดให้โอกาสให้เด็กได้เรียนต่อตามปกติ กลุ่มเสี่ยง : ค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง การให้คำปรึกษา ติดตาม เยี่ยมบ้าน ฯลฯ กลุ่มใช้ยาเสพติด : กรณีค้นพบในสถานศึกษา โดยการทำจิตสังคมบำบัดในสถานศึกษา ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง ครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

  1. ด้านการเฝ้าระวัง

สอดส่อง เฝ้าระวัง เป็นหูเป็นตา ร่วมมือกันระหว่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมที่เข้ามาหนุนเสริม เช่น ลูกเสือต้านภัยยาเสพติด

  1. ด้านการบริหารจัดการ

การพัฒนาบุคลากร การขับเคลื่อนกลไกคณะกรรมการ คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงาน งบประมาณ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา  นอกจากนี้ สถานศึกษาต้องส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ช่วงปิดภาคเรียน เช่น การจัดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมเสริมทักษะต่าง ๆ กิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน หรือกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาในมิติต่าง ๆ เพื่อเป็นการสอดส่องเฝ้าระวังนักเรียนร่วมกันสถานศึกษาต้องขอความร่วมมือไปยังผู้ปกครองในการช่วยกันสอดส่อง ดูแล เฝ้าระวัง บุตรหลานอย่างใกล้ชิดโดยอาจสร้างช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างครู และผู้ปกครอง ในช่วงปิดภาคเรียนร่วมด้วย

ดังนั้น กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔ จึงได้จัดทำโครงการระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนและเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียน  กิจกรรมค่ายนักเรียนแกนนำเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  ในการจัดค่ายครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างกิจกรรมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเสริมสร้างทักษะชีวิต ให้นักเรียนแกนนำใน กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔  และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันพัฒนา ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ ปลูกฝัง หล่อหลอมให้เด็กสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากยาเสพติด

ในการจัดค่ายครั้งนี้ โรงเรียนเฉพาะความพิการ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔  ทั้ง 18 แห่ง เป็นผู้ดำเนินงาน จัดค่ายฯ  และได้รับเกียรติจาก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1, กลุ่มส่งเสริมพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น ศูนย์อนามัยที่ 10 กรมอนามัย  โรงเรียนอุบลปัญญานุกูล  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี  และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 เป็นวิทยากรให้ความรู้  เสริมสร้างกิจกรรมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเสริมสร้างทักษะชีวิตให้นักเรียนแกนนำ ประโยชน์ผลที่คาดว่าที่จะได้รับสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4 มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและเสริมสร้าง  ทักษะชีวิต ในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ  มีภูมิคุ้มกันสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากยาเสพติด

ทั้งนี้ กลุ่มสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม ๔  ทั้ง 18 แห่ง ได้ส่งนักเรียนและครู ที่อยู่ในสังกัดโรงเรียนเฉพาะความพิการและศึกษาสงเคราะห์  เข้าร่วม โครงการกิจกรรม ทั้งสิ้น กว่า 120 คน

ภาพนิ่ง :
วัชระเกียรติ ปุรินัย
บุญศิริ วางไชย
อับดลรอหมาน ดำท่าคลอง
ชูเกียรติ ชาติวีรัตนไตร
————————————————————
ภาพเคลื่อนไหว :
ฤทัยรัตน์ มีปัญญา
————————————————————
รายงานข่าว :
กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ
————————————————————

ภาพนิ่ง :
วัชระเกียรติ ปุรินัย
บุญศิริ วางไชย
อับดลรอหมาน ดำท่าคลอง
ชูเกียรติ ชาติวีรัตนไตร
————————————————————
ภาพเคลื่อนไหว :
ฤทัยรัตน์ มีปัญญา
————————————————————
รายงานข่าว :
กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ
————————————————————

กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ
Latest posts by กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ (see all)