ตัวแทนคณะนิเทศ ของสพฐลงเบตง สุ่มติดตาม กลยุทธ์ 5s การขับเคลื่อน DLTV เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพ

วันที่ 8 สิงหาคม 2562 เวลา 10.30 น. นางสาวกัญยาวีร์ ลีวาณิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน นายเจ๊ะเฮง มีนา ศึกษานิเทศก์ และนายกฤษกร แดเบาะ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการศึกษาทางไกและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ได้ต้อนรับ นายชาญชัย ชื่นพระแสง ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พร้อมคณะทำงานนิเทศ ติดตาม กลยุทธ์ โครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV และเดินทางลงพื้นที่สุ่มติดตาม การขับเคลื่อนโครงการ ตามกลยุทธ์ 5s โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 จำนวน 5 โรง ระหว่างวันที่ 7-8 สิงหาคม 2562 ที่โรงเรียนบ้านธารน้ำทิพย์ โรงเรียนบ้านจาเราะซูซู โรงเรียนบ้านธารน้ำใส โรงเรียนบ้านจาเราะปะไตและโรงเรียนบ้านปะเด็ง เพื่อให้การช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กให้สามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน พร้อมทั้งได้แจ้งนโยบายสร้างความเข้มแข็งจากส่วนกลางสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ทางสพฐ.ได้กำหนดเป็นแนวทางในการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการตามกลยุทธที่ 1 พัฒนาการวิจัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School base Research) กลยุทธ์ที่ 2 เร่งรัด การนิเทศติดตามและประเมินผล (Supervise) กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างภาคีเครือข่าย (Stakeholeder) กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมต้นแบบวิถีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Super Base Practice) กลยุทธ์ที่ 5 เผยแพร่ แบ่งปัน สร้างการรับรู้ (shared) อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการลงสุ่มตรวจติดตามทั้ง 5 โรงพบว่า โรงเรียนได้จัดทำการเรียนการสอน DLTV ได้ครอบคลุมทุกชั้นเรียนที่มีการคละชั้น มีการจัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูมีการเตรียมความพร้อมด้านสื่อ ใบงานล่วงหน้าที่สอดคล้องกับตารางสอนต้นทาง รวมทั้งมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการสอน สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อทำการสอนซ่อมเสริมเป็นรายบุคคล และผู้เรียนสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นความรู้ได้ด้วยตนเอง ในส่วนปัญหาทีพบส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับสัญญาณที่ไม่เสถียรด้วยสภาพบริบทพื้นที่อยู่ห่างไกลทำให้เครื่องรับสัญญาณและอุปกรณ์เสียบ่อยครั้ง และได้แนะให้โรงเรียนติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าให้กับอาคาร สายล่อฟ้า และโครงสร้างเพื่อทำให้ทางวิ่งของไฟฟ้าที่ลงสู่ดินนั้นปลอดภัยมากขึ้น แทนที่จะผ่านสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า โครงสร้าง หรือสายเคเบิลต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ เสียหาย ตลอดจนแนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้กับครูทุกคนอีกด้วย

เกสรี ปชส.สพป.ยะลา เขต 3 ภาพ/ข่าว