สพป.กระบี่  และกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาการศึกษาศรีลันตา ลงนาม MOU ความร่วมมือวิจัยส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับและเยาวชนในเกาะลันตา ร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิหมู่บ้านเด็กเพซตาล๊อตซี่

//////ที่อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ นายสายัณห์  ไกรนรา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือวิจัยส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับและเยาวชนในเกาะลันตา ร่วมกับ รศ.ดร.ขวัญจิต  ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล  และคุณสุรพร  สุริยมณฑล ผู้ประสานงานมูลนิธิหมู่บ้านเด็กเพซตาล๊อตซี่ ประจำประเทศไทย  โดยมี ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์  หัวหน้าโครงการวิจัยฯ มหาวิทยาลัยมหิดล นายสังวร  คงภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลคลองท่อม และนายสวาสดิ์  ขนานใต้ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 54 (บ้านคลองขนาน)  ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน  และผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนในตำบลเกาะลันตาใหญ่ ตำบลเกาะลันตาน้อย และตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จำนวน 14 โรงเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ศรีลันตา  ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านหลังสอด บ้านคลองโตนด บ้านทุ่งวิทยพัฒน์ บ้านโล๊ะใหญ่ ชุมชนบ้านศาลาด่าน บ้านพระแอะ บ้านคลองหิน บ้านคลองนิน บ้านทุ่งหยีเพ็ง บ้านเจ๊ะหลี วัดเกาะลันตา บ้านเกาะปอ บ้านสังกาอู้ และโรงเรียนลันตาราชประชาอุทิศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ รศ.ดร.ขวัญจิต  ศศิวงศาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล   และคุณสุรพร  สุริยมณฑล ผู้ประสานงานมูลนิธิหมู่บ้านเด็กเพซตาล๊อตซี่ ประจำประเทศไทย โดยมี ดร.มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์  หัวหน้าโครงการวิจัยฯ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายสิทธิผล  ดีใจ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองพน ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน

ทั้งนี้ การลงนาม MOU มีวัตถุประสงค์เพื่อนำองค์ความรู้ทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการจัดกาเรียนการสอนสำหรับเด็กเกาะลันตาในพื้นที่เกาะ ทั้งในรูปแบบทวิ-พหุภาษา (MLE) และรูปแบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม (ICE) ผ่านการออกแบบและผลิตนวัตกรรมสื่อการสอนที่ใช้ต้นทุนทางภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งระดมปราชญ์ท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ผ่านบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้เรียนในเกาะลันตา โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการ พัฒนาทักษะทางภาษา ทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค กลวิธีการสอนหลากหลายรูปแบบ และส่งเสริมการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเด็กและเยาวชนกลุ่มต่าง ๆ ในโรงเรียนทั้ง 14 แห่ง โดยเริ่มต้นดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนกันยายน 2565 รวม 3 ปี