เลขาธิการ กพฐ. ประชุมติดตามการดำเนินงานของ สพฐ.

27 พฤษภาคม 2563 นายอำนาจ วิชายานุวัติ เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูง สพฐ. ณ ห้องประชุม อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

นายอำนาจ วิชยานุวัติ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการทบทวนงานเดิมๆ และติตตามงานของผู้อำนวยการสำนักและผู้บริหารระดับสูงทุกท่าน โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

– การเลื่อนงานศิลปหัตถกรรมในปีนี้เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COCID-19) ซึ่งยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีการแพร่ระบาดถึงเมื่อไร ดังนั้นการนำนักเรียนมาร่วมการแข่งขันจะทำให้เกิดความแออัด และเป็นทำให้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องเลื่อนการจัดงานออกไป 1 ปี จากเดิมประมาณเดือนธันวาคม 2563 เลื่อนเป็น ธันวาคม 2564                                                                                                                                                                                                               

– OBEC Poll ได้จัดทำโพลความคิดเห็นต่อ อ.ก.ค.ศ. สพฐ. / อ.ก.ค.ศ. จังหวัด จึงได้มีการสำรวจและทำ OBEC Poll ขึ้นเพื่อสอบถามประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทั้งข้าราชการครู และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 10,258 คน โดยเป็นการสำรวจแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างวันที่ 12 -16 พฤษภาคม 2563 และมีประเด็นในการสำรวจ 5 ข้อ ดังนี้ 1) สพฐ. ควรมีกลไกลวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการในสังกัดได้โดยตรงเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เห็นด้วย 97.7% 2) ควรมีองค์คณะบุคคลเพื่อดูแลการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน สพฐ. ภายในจังหวัด(การย้ายข้ามเขตพื้นที่) เห็นด้วย 95.7% 3) ควรมี อ.ก.ค.ศ.สพฐ.(ส่วนกลาง) เพื่อกำกับ ดูแล ควบคุม และบริหารงานบุคคลที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. สพฐ.จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เห็นด้วย 92.5%  4) อ.ก.ค.ศ. สพฐ. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร ควรมี ผอ.สพท. ทุกแห่งในเขตจังหวัดร่วมเป็นอนุกรรมการ เห็นด้วย 96.0%  5) สพฐ. ควรมี อ.ก.ค.ศ. สพฐ. และ อ.ก.ค.ศ. สพฐ. จังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อดูแลควบคุมการบริหารบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพฐ. เห็นด้วย 95.0%  ทั้งนี้ การทำโพลจะมีคณะกรรมการพิจารณาในแต่ละเดือนว่าควรทำโพลเป็นเรื่องอะไร ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลจากการทำโพลมาปรับใช้ในการดำเนินงานเป็นผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น                                                                                                                                                                                                   

– การสอบคัดเลือก สพฐ.ได้จัดทำแผนทั้งระบบ โดยมอบให้สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการไปดำเนินการ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการสอดส่องดูแล เรื่องความโปร่งใส ยุติธรรม การทุจริต รวมถึงติดตามดูบุคคลที่แอบอ้างตัวเป็นติวเตอร์ หรือสร้างข้อมูลที่เป็นเท็จในการทำงาน โดย สพฐ.จะมีคณะกรรมการกลางเพื่อคอยติดตามเรื่องนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้การสอบคัดเลือกเกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด

ศนท.สพฐ./ ภาพ : รายงาน