สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 อบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 28 กันยายน 2563 ที่ห้องประชุมเพชร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 นายคำโพธิ์ บุญสิงห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในสังกัดทั้ง 2 รุ่น มีความเข้มแข็งในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ทั้ง 7 นวัตกรรม ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 โรงเรียนมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นโรงเรียนต้นแบบ (Node) หรือแหล่งเรียนรู้ที่สามารถขยายผลการขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียนแก่โรงเรียนอื่น ๆ ได้ในปีต่อไป และเพื่อให้โรงเรียนทั้ง 24 โรงเรียน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือกันและกันในการปรับหลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2553 (ปรับปรุงครั้งที่ 3 พ.ศ.2563) ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ตามความจำเป็นในการปลดล็อกการจัดซื้อหนังสือ สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในมาตรา 20 (4) แห่ง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562ซึ่งมีผู้บริหารโรงเรียน ครูแกนหลักในการขับเคลื่อนนวัตกรรมแต่ละโรงเรียน และคณะทำงาน เข้ารับการอบรมในครั้งนี้  โดยมี นายทองคำ จันทร์โสภา ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมี นายสมโภชน์ หลักฐาน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา และคณะวิทยากร เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้

จังหวัดศรีสะเกษเป็น 1 ใน 8 จังหวัดของประเทศไทย ที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่นำร่องการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 และ 24 โรงเรียนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้รับการประกาศจากคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ให้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้นวัตกรรมการศึกษา ในการจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบด้วยนวัตกรรมที่คัดสรรแล้ว ตามความถนัดและสนใจของโรงเรียน ทั้งสิ้น 7 นวัตกรรม ประกอบด้วย 1. นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบมอนเตสเซอรี่ มี 1 โรงเรียน 2. นวัตกรรมการเรียนรู้แบบกิจกรรมโครงงานระดับปฐมวัย มี 1 โรงเรียน 3. นวัตกรรมการเรียนรู้แบบองค์รวม มี 6 โรงเรียน นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการพัฒนาทักษะการคิดชั้นสูงและการเปิดชั้นเรียน o-pen Approach & Iesson study มี 3 โรงเรียน นวัตกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน Based Learning มี 4 โรงเรียน นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ด้วยจิตศึกษา การบูรณาการโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC มี 8 โรงเรียน นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา ในรูปแบบ MST มี 1 โรงเรียน///// ปาริชาติ อาจสำแดง ภาพ / ข่าว