วันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 13.00 น. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จัดการประชุมวิชาการและประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “เดินหน้าพลิกโฉมสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน ก้าวข้ามสภาวะวิกฤติ COVID-19 แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (TEAM WEBINAR)” ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ในการนี้ ดร.สุทธิดล พุทธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เชียงใหม่ เป็นผู้แทนในนามจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวนำเสนอภาพรวมพลิกโฉมนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียน ของจังหวัดเชียงใหม่ ทางโปรแกรม Zoom โดยมี นายสุพล ประสานศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และนางสาวชุติมันต์ ชัยบาล ครูโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ผู้แทนครูที่เข้าร่วมโครงการ นำเสนอนวัตกรรม เล่นปนเรียน “เกม..รู้สักนิด ชีวิตปลอดภัย (จากธรณีพิบัติภัย)” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ในฐานะโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยมีครูในสังกัดเข้าร่วมโครงการจำนวน 143 คน โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถสร้างและใช้นวัตกรรมจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Steps ที่เกิดผลต่อผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมจากการเรียนรู้ได้
2. เพื่อผลิตสื่อวิดีทัศน์รูปแบบกลวิธีการสอนของครูที่มีการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ผ่านการคัดเลือกเป็นครูต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Steps สำหรับเป็นตัวอย่างเผยแพร่และเป็นสื่อพัฒนาครูในการขยายผลครอบคลุมทุกภาคของประเทศได้ต่อไป
3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อศึกษาวิจัยรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Stepsสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐานเป็นองค์ความรู้ในการต่อยอดการพัฒนาครูและบุคลากรขยายผลให้ครอบคลุมทุกภาคทั้งประเทศต่อไป
โดยกลุ่มเป้าหมาย/ผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นสถานศึกษาในภาคเหนือ 10 จังหวัด ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ ซึ่งคณะครูของโรงเรียนได้เข้ารับการพัฒนาตลอดโครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะต้นน้ำ ครูเข้ารับการอบรมปฏิบัติการสร้างและใช้นวัตกรรมจัดการเรียนรู้รูปแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Steps ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 5-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
2. ระยะกลางน้ำ ครูเข้ารับการพัฒนาเป็นครูต้นแบบตามโครงการฯ ในระยะกลางน้ำ“การพัฒนานวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน” ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2564
3. ระยะปลายน้ำ ครูเข้ารับการพัฒนาเป็นครูต้นแบบตามโครงการฯ ในระยะปลายน้ำ”การพัฒนานวัตกรรมครูสู่นวัดกรรมนักเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน” ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 โดยเผยแพร่กลวิธีการสอนด้วยการถ่ายทำคลิปวีดิทัศน์กลวิธีสอนที่ประสบผลสำเร็จ โดย ดร.ณัฐกุล รุณผาบ รอง ผอ.สพม. เชียงใหม่ และ ดร.วราภรณ์ อนุวรรัตน์ ศึกษานิเทศก์ ร่วมประชุมวิชาการ และเยี่ยมชมนิทรรศการ ของโรงเรียน ณ จุดถ่ายทอดหอประชุมโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ และนางสาวสุธาสินี ก้อนใจ ศึกษานิเทศก์ ประจำจุดถ่ายทอดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ภาพ/ข่าว: ศน สุธาสินี ก้อนใจ
ภาพ : ประชาสัมพันธ์โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
- สพม.เชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุมขับเคลื่อนแผนการยกระดับผลการประเมิน PISA ครั้งที่ 17 - 4 ธันวาคม 2024
- สพม.เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. - 3 ธันวาคม 2024
- สพม.เชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการจัดตั้งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 3 ธันวาคม 2024