งานเวทีวิชาการนวัตกรรมสะเต็มศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (ออนไลน์)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับศูนย์สะเต็มศึกษาภาคเหนือตอนบน โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ จัดงานเวทีวิชาการนวัตกรรมสะเต็มศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (ออนไลน์) หรืองาน “The 1st National Basic STEM Innovation E-Forum 2021” ในหัวข้อ “ยกระดับการเรียนรู้ สู่ชีวิตวิถีใหม่” ขึ้นเมื่อวันที่ 18 – 19 กันยายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีการจัดพิธีเปิดงานในวันที่ 18 กันยายน 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิดล พุทธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมต่อประธานในพิธี และนายทีปชัย วงษ์วรศรีโรจน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ในฐานะประธานศูนย์สะเต็มศึกษาภาคเหนือตอนบน กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายในงานเวทีวิชาการนวัตกรรมสะเต็มศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (ออนไลน์) หรืองาน “The 1st National Basic STEM Innovation E-Forum 2021” ในหัวข้อ “ยกระดับการเรียนรู้ สู่ชีวิตวิถีใหม่” มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการหลากหลายรูปแบบภายใต้แนวคิดการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทางด้านสะเต็มศึกษา (STEM Education) และการจัดการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ภายใต้ห้วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 อาทิ- การบรรยายพิเศษหัวข้อ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในประเทศไทย โดย ผศ.ดร.สุทธิดา จำรัส อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่- การบรรยายพิเศษหัวข้อ แนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งเป็นการถอดประสบการณ์และบรรยายสดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย อาจารย์ ดร.สุภาภรณ์ เสาร์สิงห์ อาจารย์ผู้สอน Hobbs Freshman High School, Hobbs, NM, USA- กิจกรรมปาฐกถาพิเศษ ในการประชุมนำเสนอผลงานวิชาการห้องประชุมที่ 1 หัวข้อ “มโนทัศน์แห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา” โดย Keynote Speaker คือ ดร.กมลรัตน์ ฉิมพาลี โรงเรียนถนนหักพิทยาคม จ.บุรีรัมย์ นำเสนอเรื่อง “เทคนิคการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา”- กิจกรรมปาฐกถาพิเศษ ในการประชุมนำเสนอผลงานวิชาการห้องประชุมที่ 2 หัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์ COVID-19” โดย Keynote Speaker คือ คุณครูขุนทอง คล้ายทอง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยปทุมธานี นำเสนอเรื่อง “การสร้างแรงบันดาลใจสู่การเรียนรู้แบบโครงงานในสถานการณ์ COVID-19”ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มีครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิชาการและเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ดังนี้1. การประกวด STEM Showcase ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 5 ทีม2. การประกวด STEM Showcase ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 9 ทีม3. การประกวดโครงงานสะเต็มศึกษา ประเภทนำเสนอด้วยวาจา ระดับประถมศึกษา จำนวน 1 ทีม4. การประกวดโครงงานสะเต็มศึกษา ประเภทนำเสนอด้วยวาจา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 15 ทีม5. การประกวดโครงงานสะเต็มศึกษา ประเภทนำเสนอด้วยวาจา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 ทีม6. การประกวดโครงงานสะเต็มศึกษา ประเภทนำเสนอด้วยโปสเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 24 ทีม7. การแข่งขันการสร้างชิ้นงานสามมิติจากแบบวิศวกรรม (3D Paper Crafting) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 49 ทีมนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการนำเสนอผลงานวิชาการของครูผู้สอนจากโรงเรียนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ กิจกรรมการนำเสนอผลงานโครงงาน และกิจกรรมวิชาการของนักเรียนในโรงเรียนต่าง ๆ ดังนี้1. การนำเสนอผลงานด้วยวาจา ของครูผู้สอนหัวข้อ “มโนทัศน์แห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา” จำนวน 6 ผลงาน2. การนำเสนอผลงานด้วยวาจา ของครูผู้สอนหัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์ COVID-19” จำนวน 8 ผลงาน3. การนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ ของครูผู้สอนหัวข้อ “มโนทัศน์แห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา” จำนวน 25 ผลงาน4. การนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ ของครูผู้สอนหัวข้อ “การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์ COVID-19” จำนวน 26 ผลงาน5. การนำเสนอผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโครงงาน (Project Based Leaning)ด้วยโปสเตอร์ ของนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ จำนวนมากกว่า 60 ผลงาน6. การนำเสนอผลการทำกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโครงงาน (Project Based Leaning)ด้วยโปสเตอร์ ของนักเรียนจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จำนวน 43 ผลงานตลอดการจัดงานทั้ง 2 วันพบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการภายในงานทุกกิจกรรม เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 291 ทีม จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,164 คน มีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายและร่วมชมกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านระบบ Live และตอบแบบประเมินงาน จำนวน 3,500 คน และมีผู้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมผ่านทางแฟนเพจ OEC News สภาการศึกษาและ แฟนเพจศูนย์สะเต็มศึกษาภาคเหนือตอนบน จำนวนมากกว่า 20,000 คน ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจติดตามชมผลงานและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในงานเวทีวิชาการนวัตกรรมสะเต็มศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (ออนไลน์) หรืองาน “The 1st National Basic STEM Innovation E-Forum 2021” สามารถติดตามชมผลงานต่าง ๆ ในระบบออนไลน์ได้ที่ https://stem2021.yupparaj.ac.th/ และสามารถติดตามการถ่ายทอดสดพิธีเปิดกิจกรรมรวมทั้งการถ่ายทอดสดกิจกรรมอื่น ๆ ได้ทางเฟสบุ๊คแฟนเพจสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และแฟนเพจศูนย์ สะเต็มศึกษาภาคเหนือตอนบน หรือติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้จากลิ้งค์ดังต่อไปนี้ข้อมูลจากhttps://www.facebook.com/1457042391216978/posts/2966226653631870/