ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เปิดป้ายโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

นายนิวัฒน์  แก้วเพชร  ผอ.สพป.ชัยภูมิ เขต 1  เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”  ในวันพุธที่ 13 ตุลาคม 2564 ณ โรงเรียนบ้านหลุบโพธิ์  ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจาก สพฐ. ให้เป็นสถานศึกษานำร่องเพื่อเข้าร่วมโครงการอารยเกษตร สืบสาน ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ปีการศึกษา 2564 

โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน 904 วปร. ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ นำมาประยุกต์แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก และสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ โดยปรับเปลี่ยนพื้นฐาน แนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษา ให้เกิดผลในมิติต่างๆ ทางด้านการพึ่งพาตนเอง มีความกตัญญู การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทางปัญญา รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

. “โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นการน้อมนำแนวทางพระราชทาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ นำมาประยุกต์แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นฐานแนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษา

โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” มีวัตถุประสงค์ให้เป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญและได้น้อมนำโครงการมาปฏิบัติ โดยดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษานำร่อง ระยะที่ 1 จำนวน 35 โรงเรียน และระยะที่ 1 (เพิ่มเติม) จำนวน 67 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 102 โรงเรียน และได้ประสานความร่วมมือกับ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 1 เตรียมการพื้นฐานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถานศึกษานำร่อง ระยะที่ 1 และระยะที่ 1 (เพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 13-22 กันยายน และวันที่ 27 กันยายน 2564 ส่งผลให้สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางที่ชัดเจน สำหรับนำมาพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอน ตามหลักการ 5 เปลี่ยน และหลักการ 5 ประเมิน โดยสามารถปรับให้เข้ากับภูมิสังคมและบริบทของแต่ละท้องถิ่น อันจะนำพานักเรียนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของชุมชนต่อไป