โรงเรียนศรีสงครามวิทยา สพม.เลย หนองบัวลำภู ยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ชื่อผู้วิจัย : นายกมล  เสนานุช  ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย คำสำคัญ : การบริหารจัดการสถานศึกษา, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, คุณภาพนักเรียน ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2562 – 2563

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา  มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา (2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
ศรีสงครามวิทยา

         

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
ศรีสงครามวิทยา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structure Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Synthesis) (2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา โดยการยกร่างรูปแบบ การตรวจสอบร่างรูปแบบและการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ซึ่งการตรวจสอบร่างรูปแบบผู้วิจัยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Focus Group Discussion) จำนวน 9 คน

ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ (3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง
(One Group Post-test Only) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยศึกษาจากประชากรทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 2,989 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 2,855 คน และครู จำนวน 134 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกคะแนนจากการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ตามหลักสูตร และแบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (4) การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 482 คน ประกอบด้วย ผู้ปกครองนักเรียนโดยผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970: 608) จำนวน 335 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 ห้องเรียนละ 5 คนจำนวน 35 ห้องเรียน และห้องเรียนละ 4 คน จำนวน 40 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 75 ห้องเรียน สำหรับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษาจากประชากร โดยศึกษาจากครูจำนวน 134 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้วิจัย และผู้แทนครูที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อและโดยรวมและใช้วิธีการหาค่าความถี่จากการบันทึกปลายเปิด โดยเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในประเด็นการประเมินรายข้อมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไปหรือมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ในระดับมากขึ้นไป

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา พบว่า องค์ประกอบหลัก จำนวน 5 องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย จำนวน 12 องค์ประกอบและรายการการบริหารจัดการ จำนวน 62 รายการ แยกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปัจจัยนำเข้า (Inputs : I) จำนวน 24 รายการ กลุ่มกระบวนการ (Process : P) จำนวน 24 รายการและกลุ่มผลผลิต (Outputs : O) จำนวน 14 รายการ สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการยกร่างรูปแบบ

2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา พบว่า ได้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา คือ 5 H ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบหลักที่ 1 (H1 : Hands Based Management : การบริหารจัดการแบบร่วมทำ) องค์ประกอบหลักที่ 2 (H2 : Hearts Based Direction : การกำหนดนโยบายแบบร่วมใจ) องค์ประกอบหลักที่ 3 (H3 : Holistic Curriculum Management : การจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ) องค์ประกอบหลักที่ 4 (H4 : Healing Moral Instruction : การจัดการเรียนรู้คู่คุณธรรม) และองค์ประกอบหลักที่ 5 (H5 : Healthily Environmental Management : การพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา) องค์ประกอบย่อย จำนวน 12 องค์ประกอบ และรายการการบริหารจัดการจำนวน 62 รายการ โดยจำแนกกลุ่มรายการการบริหารจัดการที่สังเคราะห์ได้ตามหลักการวิเคราะห์แบบระบบได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปัจจัยนำเข้า (Inputs: I) จำนวน 24 รายการ กลุ่มกระบวนการ (Process : P) จำนวน 24 รายการ และกลุ่มผลผลิต (Outputs : O) จำนวน 14 รายการและผลการตรวจสอบความเหมาะสม พบว่า รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 สามารถนำไปทดลองใช้จริงในสถานศึกษาได้

3.  ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา พบว่า (1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หลังการใช้รูปแบบ ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.29 (2) คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้รูปแบบ ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.71 (3) คะแนนเฉลี่ย จากการทดสอบพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 (4) ร้อยละของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับดีขึ้นไปหลังการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 และ (5) ร้อยละการพัฒนาคุณภาพนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 หลังการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 5.14                              

4.  ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยา (5H) พบว่าโดยรวมรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียน โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนศรีสงครามวิทยาโดยรวมมีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบโดยองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และรายการการบริหารจัดการ
มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้