รมช.ศธ. ประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์ความเป็นเลิศ โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ระหว่างประเทศไทย และประเทศสิงคโปร์ (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs)

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานนําการประชุมขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์ความเป็นเลิศ โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ระหว่างประเทศไทยและประเทศ สิงคโปร์ (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมประชุม ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหาร สถานศึกษา คณะครูโรงเรียนศูนย์ความเป็นเลิศ โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ระหว่างประเทศ ไทย และประเทศสิงคโปร์ (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) ทั้ง 10 ศูนย์ เพื่อมอบนโยบาย และแนวทางการดําเนินงานแก่โรงเรียนศูนย์ความเป็นเลิศฯ พัฒนาประสิทธิภาพในการเป็นผู้นําสะเต็มศึกษา แห่งประเทศไทย และสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ โดยมี นายพูลศักดิ์ จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พร้อมคณะผู้บริหาร ครู ร่วมให้การต้อนรับ ณ หอประชุมอาคารศูนย์วิทยบริการดารารัศมี โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

สืบเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือเพื่อร่วมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สะเต็มศึกษา โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียนเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการ ภายใต้ ความร่วมมือทางวิชาการ สพฐ. ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษา ขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for STEM Education: SEAMEO STEM-ED) และสถาบันการศึกษาแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ (National Institute of Education: NIE) โดยมีโรงเรียนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ หลังจากมีการประกาศรับสมัคร แล้วทั้งสิ้น 1,322 โรงเรียนจากทั่วประเทศไทย สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา จึงได้ทำการคัดเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม จำนวน 30 โรงเรียน เพื่อทำการคัดเลือกโรงเรียนที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศ โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ระหว่างประเทศไทย และประเทศสิงคโปร์ (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) จำนวน 10 แห่ง เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการนําความรู้ตามแนวทาง โครงการสะเต็มศึกษามาเผยแพร่ให้กับโรงเรียนที่มีความสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาในภายภาคหน้า โดยโครงการนี้มีระยะเวลา 3 ปี (ปี พ.ศ. 2563 – 2565) และมีการพัฒนา 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 โครงการผู้นําสะเต็มศึกษา (STEM Leadership Programme) ซึ่งเริ่มขึ้นช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เป็นการให้ความรู้โดยวิทยากรจากสถาบันการศึกษา แห่งชาติประเทศสิงคโปร์ (National Institute of Education, NIE) โดยมีผู้เข้ารับการอบรม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนสะเต็มศึกษาของโรงเรียน ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 30 โรงเรียน เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นําการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา ซึ่งครูจะสามารถนําความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้และส่งเสริมการ จัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาแบบบูรณาการได้สำเร็จ จากนั้นจึงจะอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์เป็นเวลา 3 วัน เพื่อศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างที่จะนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการ

ต่อมามีการอบรม ระยะที่ 2 การสอนและการวิจัยสะเต็มศึกษา (Building up STEM Teaching and Research) ช่วงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นการประชุมวิชาการสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการ โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ การพัฒนาศักยภาพของครูในการออกแบบบูรณาการบทเรียนสะเต็มศึกษา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ บทเรียน ซึ่งครูจะมีส่วนร่วมในการออกแบบบทเรียนสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการ แบบจําลองแนวปฏิบัติทางการสอน ผ่านระบบออนไลน์ เป็นเวลา 3 วัน แล้วจึงทำการอภิปรายการวิจัยเชิงปฏิบัติการการวางแผนการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา และเมื่อสิ้นสุดการประชุมวิชาการ แต่ละโรงเรียนมจะได้รับมอบหมายให้พัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางหลักสูตรสะเต็มศึกษาแล้วจึงจะคัดเลือกโรงเรียน จำนวน 10 แห่งเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านสะเต็มศึกษา (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs)

ซึ่งในขณะนี้ กําลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ระยะที่ 3 การพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านสะเต็มศึกษา (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) โดยในระยะนี้จะมีการนิเทศเชิงประจักษ์ไปยังโรงเรียนที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านสะเต็มศึกษา (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) จำนวน 10 แห่ง และจะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for STEM Education: SEAMEO STEM-ED) และผู้เชี่ยวชาญจาก meriSTEM@NIE เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนและแนวทางปรับแผนการเรียนรู้ตามแนวทางของโครงการสะเต็มศึกษา

และระยะสุดท้าย ระยะที่ 4 การจัดแสดงแนวทางปฏิบัติในสะเต็มศึกษา (STEM Convention and Festival) ในระยะนี้จะเป็นการสรุปโครงการ โดยคาดว่าจะการเปิดตัวศูนย์ความเป็นเลิศด้านสะเต็มศึกษา (Centres of Excellence in STEM Education: CoEs) ทั้ง 10 แห่ง ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงาน และการบรรยายพิเศษเรื่องสะเต็มศึกษาแบบบูรณาการ ให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ เช่น สะเต็มศึกษาในประเทศไทย, การคิด, การเรียนรู้ด้วยโครงงาน และสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยคาดว่าจะมีการเชิญคุณครูและผู้บริหารในประเทศไทยมากถึง 500 คน เพื่อเข้าร่วมงาน Thailand STEM Festival ซึ่งศูนย์ความเป็นเลิศ ฯ (CoEs) ทั้ง 10 แห่ง จะจัดแสดงผลการเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียน และมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ OBEC Channel และ เว็บไซต์ของโครงการ

ภาพ/ข้อมูล : ประชาสัมพันธ์โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย