วันที่ 24 มีนาคม 2565 ดร.พัฒนะ พัฒนทวีดล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกิจกรรมโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” “อารยเกษตรตาเนาะแมเราะ สร้างนวัตกร – เกษตรกรรม ร้อยรัดวัฒนธรรมชายแดนใต้” ณ โรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมี พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหาร ปฏิบัติการพิเศษในพระองค์, ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายกสมาคมดินโลก , รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์, พันจ่าโทอนันต์ บุญสำราญ ปลัดจังหวัดยะลา, นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1-3 , ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษายะลา, นายวิรัต แซ่ตัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ, ผู้นำชุมชน ตลอดจนคณะผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน เข้าร่วมงาน
โดยโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนา เพื่อเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานแนวความคิด ฝึกวินัย ลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เกิดผลในมิติต่าง ๆ ทั้งการพึ่งพาตนเอง ความกตัญญูการพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทางปัญญา รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตระหนักถึงความสำคัญและได้น้อมนำโครงการมาปฏิบัติ ด้วยการคัดเลือกสถานศึกษานำร่อง ระยะที่ 1 จำนวน 102 โรงเรียน เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยประสานความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย และคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอาศรมศิลป์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถานศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการขุดหนอง ปั้นโคก ทำนา ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยม สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางที่ชัดเจน
สำหรับนำมาพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอน ตามหลักการ 5 เปลี่ยน 5 ประเมิน ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาทุกภาคส่วน สถานศึกษา และชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่สอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทอย่างเต็มที่ ตลอดจนสามารถปรับให้เข้ากับภูมิสังคม และบริบทของแต่ละท้องถิ่น อันจะนำพานักเรียนให้สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่พึ่งของชุมชนได้
สำหรับโรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนในสังกัด สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ โดยจะทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และร่วมกันดำเนินงาน โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างเยาวชน ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติสืบไป
- รองเลขาธิการ กพฐ. “พัฒนะ” ประชุมเชิงปฏิบัติการกำหนดกรอบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านภาษาอังกฤษตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. 2567 – 2568 - 9 ธันวาคม 2023
- เลขาธิการ กพฐ. “ธนุ” ย้ำ หัวใจการให้การบ้าน ประกาศแนวทาง “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้” - 9 ธันวาคม 2023
- สพฐ. สร้างเครือข่ายพี่เลี้ยง จับมือโรงเรียนขยายโอกาส ยกระดับคุณภาพการอ่านทั้งประเทศ - 9 ธันวาคม 2023