สพม.นครสวรรค์ จัดโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Steps สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพยุหะพิทยาคม

วัน ศุกร์ ที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น. ดร.อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยรูปแบบ Active Learning สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยทีมคณะวิทยากรผู้ให้ความรู้ได้แก่ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ 1.ดร.นารี คูหาเรืองรอง อดีตผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปถัมภ์ (หัวหน้าคณะวิทยากร) 2.อาจารย์ราตรี ตรีพรหม ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3. นายบุญเลิศ ยิ้มแย้ม อดีตผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ อาจารย์วุฒินันท์ โชคอำนวย รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปถัมภ์ ฝ่ายมัธยมศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ นางสัมพรรณ ถวิลไทยศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้  นางเมตตา ถวิลไทย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และ นางสาวภัทรภรณ์ น้อยกอ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ ผู้เข้าอบรมได้แก่คณะครูโรงเรียนพยุหะพิทยาคม โดยมี นายสิงหวรรธน์ มาตราช ผู้อำนวยการโรงเรียนพยุหะพิทยาคม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การอบรม ซึ่งเป็นโครงการที่มีการพัฒนาต่อเนื่องเป็น3 ระยะ คือระยะต้นน้ำ ระยะกลางน้ำ และระยะปลายน้ำโดยการพัฒนาทักษะการสอนแนวใหม่ การใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สร้างผู้เรียนเป็นนวัตกร โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน สามารถพัฒนาการเรียนการสอนตามแนวคิด Active Learning การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ การเผยแพร่นวัตกรรม ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในสถานศึกษา ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปถัมภ์  กับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนรองรับสังคมใหม่ ด้วยการพัฒนาครูและบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจนเกิดผลผลิต “นวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมผู้เรียน” ด้วยการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ Active Learning การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง ด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ GPAS 5 Steps ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนพยุหะพิทยาคม

Sutee Deethaisong
Latest posts by Sutee Deethaisong (see all)