เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น. นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วย นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมหารือการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอ่างทอง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนในจังหวัดอ่างทอง โดยมี นายมงคล รุ่งสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ร่วมให้การต้อนรับ
ในการประชุมหารือการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดอ่างทอง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนในจังหวัดอ่างทอง โดยมี นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง นายปริญญา เขมะชิต ปลัดจังหวัดอ่างทอง นายวุฒิชัย ธรรมยา ศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง และผู้แทนจากคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมโพธิ์ทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
โดย นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานการประชุม หลังจากเปิดการประชุมแล้ว รับฟังการบรรยายการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งในปัจจุบันมีโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียน 0 – 120 คน) ในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 93 โรงเรียน ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565 ดำเนินการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดตั้ง รวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 และโอนสถานศึกษาแล้ว จำนวน 5 โรงเรียน และการดำเนินการโครงการโรงเรียนคุณภาพตามแผน 15 จุด ซึ่งเป้าหมายปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2568 (โรงเรียนนำร่อง จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดโคศุภราช (รัฐราษฎร์บำรุง) มีเครือข่าย จำนวน 10 โรงเรียน) โดยใช้แนวทางการบริหารโรงเรียน ATP Model (At ATP Model) พร้อมกับรับฟังข้อจำกัดและปัญหาที่พบในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดอ่างทอง
ด้าน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง กล่าวว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ จะแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ครูไม่ครบชั้น ครบวิชานั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียงกัน นำนักเรียนมาเรียนรวมกัน เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครูและเพิ่มคุณภาพการศึกษา หรืออยู่ใกล้กับโรงเรียนคุณภาพ ก็สามารถนำนักเรียนมาเรียนรวมได้ โดยการมาเรียนรวมนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางในการมาเรียนรวมตามหลักเกณฑ์
ทั้งนี้ ในปี งบประมาณ 2566 ได้ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ทำการทบทวนแผนหรือปักหมุดโรงเรียน ที่มีความพร้อมและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และสามารถดำเนินการตามแนวทางโครงการโรงเรียนคุณภาพได้จริง เสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อขอรับงบประมาณในการดำเนินงานดังกล่าว
ขอขอบคุณภาพจาก นายเฉลิมวุฒิ สพป.อ่างทอง
- ผอ.สวก.สพฐ. “วิษณุ” เปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและการประชุมทางวิชาการในหัวข้อ “การศึกษาไทยก้าวไกลสู่ทศวรรษหน้า” - 5 ตุลาคม 2024
- รมว.ศธ. พร้อม เลขาธิการ กพฐ. ร่วมงาน “ทิศทางการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กโคราช” จัดการเรียนรู้ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ด้วยนวัตกรรมจิตศึกษา PBL และ PLC - 5 ตุลาคม 2024
- รมว.ศธ. พร้อม เลขาธิการ กพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานตามนโยบาย ศธ. ณ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และโรงเรียนภัทรบพิตร จ.บุรีรัมย์ - 4 ตุลาคม 2024