สพป.มุกดาหาร ประชุมผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด ครั้งที่ 1/2566

สพป.มุกดาหาร ประชุมผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด ครั้งที่ 1/2566

🕣 วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 น.
ณ ห้องประชุมคุรุมุกดา สพป.มุกดาหาร

นายวรรณสิทธิ์ คำเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร เป็นประธาน “การประชุมผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ครั้งที่ 1/2566” พร้อมด้วย รอง ผอ.สพป.มุกดาหาร ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัด ผอ.กลุ่ม/หน่วย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ผ่านระบบ Video Conference และรูปแบบ On-Site ซึ่งเครือข่ายคุณภาพการศึกษาทั้ง 19 เครือข่าย ร่วมประชุมทางไกลตามจุดที่กำหนด และบุคลากรที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมรูปแบบ On-Site ณ ห้องประชุมคุรุมุกดา สพป.มุกดาหาร

จากคราวประชุมผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2566 นายวรรณสิทธิ์ คำเพราะ ผอ.สพป.มุกดาหาร ได้เข้าร่วมการประชุมและได้รับมอบนโยบายเร่งด่วน แนวทางการประเมิน และการรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน (Quick Policy : QP) จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำโดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) , รองเลขาธิการ กพฐ. และ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เพื่อนำนโยบายและข้อราชการลงสู่เขตพื้นที่ฯ จึงจัดการประชุมในครั้งนี้ (ครั้งที่ 1/2566) ขึ้น โดยมีข้อราชการที่สำคัญ ดังนี้
📍 1. การเงินและพัสดุ
1.1 การก่อหนี้ผูกพัน งบที่ดินสิ่งก่อสร้าง
ให้เร่งรัดดำเนินการ จะกระทำการแบ่งซื้อแบ่งจ้างมิได้ และให้พิจารณาซื้อพร้อมกันใบจัดสรรเดียวกัน แต่สามารถแยกการพิจารณาได้ แต่หากแยกรายการต่างใบจัดสรร/แยกซื้อ เข้าข่ายแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ซึ่งจะต้องกำหนด TOR ให้เป็นไปตามที่ส่วนกลางกำหนด ถ้าไม่มี รร.จึงกำหนด โดยราคากลางเทียบเคียงตามกำหนดและให้ถูกกระบวนการ รวมถึงงบผูกพัน หากทำในปี งปม. ไม่แล้วเสร็จ สามารถกันได้อีกหนึ่งปี ซึ่งหากยังไม่แล้วเสร็จ งบตกถือเป็นตัวชี้วัดของผอ.
1.2 การวางแผนงบประมาณ ขอให้เชื่อมโยงไปหา ว. PA
1.3 เงินฝากธนาคาร

  • ให้สำรวจตรวจสอบบัญชีธนาคาร กระแสรายวัน ออมทรัพย์ หรือบัญชีอื่น ๆ หากสิ้นภารกิจให้ปิดบัญชี แต่หากเงินเหลือและหาที่มาไม่ได้ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
  • อำนาจการเก็บรักษา เงินนอกงบประมาณ ให้อยู่ในอำนาจของ รร. แต่ถ้าเกินอำนาจ ให้นำฝาก สพท. ฝากคลังจังหวัด
  • เงินนอกงบประมาณอื่น ให้ควบคุมการใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์

1.4 เงินอุดหนุน (รายหัว อาหารกลางวัน ฯลฯ) ใช้ได้ภายในสองปีงบประมาณ หากเหลือใช้ไม่หมดต้องส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน และต้องทำทะเบียนคุมให้ดีว่าเงินงบปีไหน หมวดใช้จ่ายใด
1.5 การควบคุมใบเสร็จรับเงิน (เอกสารแทนตัวเงิน)
เคยมีกรณีขายเล่มใบเสร็จเปล่า เพื่อนำไปทำผิดกฎหมาย

📍 2. การบริหารจัดการ
2.1 ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยทรงผมนักเรียน
ซึ่งระเบียบนี้ไม่มีแล้ว โรงเรียนต้องวางระเบียบเอง พร้อมทั้งรายงานมายังเขตพื้นที่ฯ
2.2 การประเมินความชอบ ครั้งที่ 1

  • ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ตรวจสอบความถูกต้อง
  • เขตฯ แจ้งจัดสรรวงเงิน
  • รร. หรือ เขตฯ ออกคำสั่งเลื่อน ตามอำนาจหน้าที่ โดยแจ้งเป็นรายบุคคล

2.3 การไปราชการ เขียนขออนุญาตให้ชัดเจน

  • ไปราชการอะไร (เรื่องที่ไปต้องเป็นงานราชการ ไม่ใช่งานเอกชน)
  • ไปราชการที่ไหน (สถานที่ อำเภอ จังหวัด)
  • ไปอย่างไร (ระบุพาหนะ รถราชการ รถโดยสารประจำทาง รถยนต์ส่วนตัว) รถยนต์ส่วนตัวเบิกค่ำน้ำมันไม่ได้ แต่จะเบิกได้เป็นค่าชดเชยน้ำมันฯ

2.4 การอนุญาตให้พื้นที่ (ตามวัตถุประสงค์หลักของสถานศึกษา)

  • ขายสินค้า (กาแฟ 7-11 ประปาหมู่บ้าน ฯลฯ) หากไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของสถานศึกษา ต้องแจ้งธนารักษ์พื้นที่ รังวัดแบ่งแยกเพื่อให้เช่ารายได้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน

2.5 การโอนพัสดุครุภัณฑ์ โรงเรียนเรียนรวม / ยุบเลิก จะต้องกระทำไปเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ราชการ หรือโรงเรียนที่ขาดแคลน

📍 3. การจัดการด้านคุณภาพ
3.1 โรงเรียนคุณภาพ
วิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความจำเป็น จำนวนนักเรียน การคมนาคม ทำให้เกิดการจัดการเพื่อเพิ่มคุณภาพ โรงเรียนหลัก โรงเรียนที่ต้องควบรวม/เรียนรวม โรงเรียน Standalone
3.2 การจัดการเรียนการสอนหลังโควิด

  • หลักสูตรฐานสมรรถนะ ยังคงสอนเหมือนเดิมหรือไม่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในโรงเรียน มีความเข้าใจ ขับเคลื่อนกันอย่างไร
  • การบริหารจัดการระดมสรรพกำลังช่วยงานการศึกษา ทำอะไรอย่างไรบ้าง
  • ประสิทธิภาพการเข้าถึงเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยนักเรียน ครู สามารถเข้าถึงใช้ได้ดี มีการบริหารจัดการการแก้ปัญหา การต่อยอดอย่างไร
  • หลักสูตรปรับปรุงสาระการเรียนรู้ 8+1 โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ เรียนรู้ ต่อยอด ไม่อยากเห็นแค่การท่องจำ ต้องเชื่อมโยงท้องถิ่น ชุมชน สังคม ประเทศชาติอย่างไร ไปต่ออย่างไร ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมชาติไทย เกิดเป็นศูนย์รวมใจชาวไทยทั้งชาติ

3.3 การคืนอัตรากำลัง ครู ผู้บริหาร กำหนดให้โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 60 คนขึ้นไป และอัตรากำลังธุรการ ให้บริหารจัดการเท่าที่มี ไม่ต้องส่งคืน

📍 4. การข่าว ปัญหาคือ ผู้บริหาร (เขต/สพฐ) รู้ช้ากว่านักข่าว

  • รายงานก่อนเป็นข่าว
  • ภัย ห้ามไม่ได้ แต่การบริหารการข่าว เป็นเรื่องจำเป็น
  • มาตรการป้องกัน ที่ทำไว้ มีอะไร
  • มาตรการเผชิญเหตุ ให้ใครทำอะไร แก้ไขเหตุอย่างไร ปัจจุบันระงับได้แล้วหรือไม่
  • มาตรการเยียวยา ทำอะไร ตอนไหน ทันต่อความเดือดร้อนหรือไม่
  • สิ่งที่ผู้บริหารอยากทราบด่วน คือ เกิดเหตุอะไรขึ้น สาเหตุเกิดจากอะไร เกิดแล้วจัดการกับปัญหาอย่างไร ระงับเหตุการณ์ได้ทันการหรือไม่ เพื่อเข้าถึงต้นเหตุ รับผิดชอบ และช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

จากนั้น รอง ผอ.สพป.มุกดาหาร ได้ร่วมชี้แจงในประเด็นต่าง ๆ ต่อไป
👉 นางวรกัญญาพิไล แกระหัน รอง ผอ.สพป.มุกดาหาร ชี้แจง “กำหนดการสอบ RT/NT ปีการศึกษา 2565” และ “ประเด็นปัญหาการบริหารงานการเงินและสินทรัพย์”
👉 นายพิเชษฐ มหาวงศ์ รอง ผอ.สพป.มุกดาหาร ชี้แจง “การบริหารงานบุคคล 5 เรื่อง”
👉 นายสายันต์ ผาดโผน ผอ.กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ชี้แจง “การรายงานข้อมูลเงินนอกงบประมาณของสถานศึกษาในสังกัด เพื่อนำส่งข้อมูลแก่ สตง.”

ภาพ/ข่าว/เรียบเรียง : นายนวิน เข็มทอง นักประชาสัมพันธ์ สพป.มุกดาหาร
📸 ดูภาพข่าวเพิ่มเติมได้ที่ :
https://drive.google.com/drive/folders/1FhK7zICMM46zUvdBgPTrxSlNUvkQXwb4?usp=share_link