171 เขตพื้นที่ จับมือกันยกระดับโรงเรียนขนาดเล็กด้วย DLTV

171 เขตพื้นที่ จับมือกันยกระดับโรงเรียนขนาดเล็กด้วย DLTV

วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ร่วมหารือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และ ผอ.กลุ่ม DLICT ของเขตพื้นที่การศึกษา รวมจำนวน 171 เขต ที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ

สำหรับการประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้ ผอ.สพท. และศึกษานิเทศก์มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วย DLTV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ ทำให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (DLTV) จำนวน 12,706 โรงเรียน เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีวิทยากรให้ความรู้ ได้แก่ นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ ผู้ช่วยเลขาฯมูลนิธิฯ นางณัฐา เพชรธนู รองผอ.สทศ.สพฐ. นางกัลยา มาลัย ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 นายอนุกูล ศรีสมบัติ ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต 1 นายสท้าน วารี ผอ.สพป.สกลนคร เขต 1 นางชุลีกร ทองด้วง ผอ.สพป.ตรัง เขต 1 นางนัยนา ต้นเจริญ ผอ.สศศ สพฐ. นายพิชิต ขำดี ผอ.กลุ่มศึกษาทางไกล สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 นายภูมิ พนันตา ผอ.โรงเรียนวัดหนองป่าครั่ง สพป.เชียงใหม่ เขต 1 นายวิษณุ สุวรรณไตรย์ ผอ.กลุ่มศึกษาทางไกล สพป.สกลนคร เขต 1 และนางรัตนี ลิ่มพานิช รองผอ.สพป.ตรัง เขต 1 เป็นต้น

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. จากนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็ก ต้องได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง พร้อมทั้งมีการจัดหาอุปกรณ์และสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้น ในฐานะ ผอ.สพท. การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ให้เป็นโรงเรียนคุณภาพเพื่อให้เด็กได้รับโอกาสที่ดี ได้รับความพร้อมสูงสุดเพื่ออนาคตของเด็ก ๆ นับเป็นแนวทางที่ ผอ.สพท. ต้องวางแผนการดำเนินการอย่างหลากหลาย สร้างแนวทางปลดรั้วโรงเรียน สร้างโอกาสให้กับบุคลากรในสังกัดได้รับองค์ความรู้ โดยความเป็นผู้นำที่ทำให้เกิดกับเด็กทุก ๆ คนได้ ไม่ว่าจะเป็น Anywhere Anytime การดำเนินการห้องเรียนรวม การเชื่อมโยงบูรณาการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ผอ.สพท. ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้องใช้โอกาสจากสถานการณ์นี้ เติมเต็มโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากครูไปสู่นักเรียน สามารถเติมเต็มนักเรียนเป็นรายบุคคลได้ ครูต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เด็กได้ ลดข้อจำกัดเปิดประเด็นความรู้ต่าง ๆ ให้กับนักเรียนสามารถแสดงศักยภาพของนักเรียนได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด และครูต้องเข้าใจนักเรียนว่าจะต้องดำเนินการเติมเต็มอย่างไรภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งการขาดทรัพยากรบุคคล การขาดครูผู้สอน DLTV เป็นสื่อมีชีวิตเป็นครูตรงวิชาเอก และเป็นครูที่ช่วยทำให้ห้องเรียนของโรงเรียนขนาดเล็กมีครูถึง 2 คน ครูหนึ่งคนทำหน้าที่สอน ส่วนครูอีกคนทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรมนักเรียนและจัดทำบันทึกหลังการเรียนการสอนของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่แต่ละคนขาด เพื่อให้นักเรียนได้รับมาตรฐานเท่ากันทั่วทั้งประเทศ นับเป็นการเติมเต็มที่ตรงจุดที่สุด และไม่ซับซ้อน

ทั้งนี้ โรงเรียนขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดของครูที่จบไม่ตรงวิชาที่สอน ซึ่งการใช้ DLTV หรือครูตู้ที่มีโรงเรียนต้นทางคือโรงเรียนวังไกลกังวล และมีมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ช่วยดำเนินการเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมให้กับเด็กในทุกที่ได้รับความรู้ และสะดวกต่อครูผู้สอนที่สามารถจัดการและเติมเต็มนักเรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี “สุดท้ายนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน และอยากบอกว่าโอกาสที่ทุกท่านได้ดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก ขอให้ฉวยทำโอกาสนี้ในทุกวิถีทางที่ยกระดับให้โรงเรียนขนาดเล็กกลายเป็นโรงเรียนชั้นนำ จะเป็นตำนานของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และทีมงานได้เป็นอย่างดี“รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

Loading