28 โรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา ภาคเหนือ จับมือยกระดับคุณภาพ สร้าง “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มุ่งสู่สากล

28 โรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา ภาคเหนือ จับมือยกระดับคุณภาพ สร้าง “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มุ่งสู่สากล

วันที่ 19 พฤษภาคม 2568 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พบปะทักทายและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล “โรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา” จุดที่ 1 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนเครือข่าย ภาคเหนือ ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 25 โรงเรียน และโรงเรียนสังกัด สช. จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูฝ่ายวิชาการ หรือครูผู้รับผิดชอบการยกระดับสมรรถนะความฉลาดรู้ ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงาน รวมกว่า 100 คน

สำหรับการประชุมครั้งนี้ เป็นการพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายฯ เพื่อให้ตอบโจทย์ของการยกระดับคุณภาพนักเรียนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาสมรรถนะความฉลาดรู้ การแลกเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการ การวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เป็นต้น ซึ่งผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ จะได้แนวทางในการนำไปพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดของตน อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายนำไปสู่การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของผู้เรียนในอนาคต โดยมีวิทยากรให้ความรู้ ได้แก่ นายธงชัย ชิวปรีชา ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนฯ นายสมเจตน์ พันธ์พรม ผอ.ศูนย์ PISA สพฐ. และวิทยากรจากครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นต้น

นางเกศทิพย์ ศุภวานิช กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ ศธ. และว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. จากนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามหลักการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิตและการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ โดยท่าน รมว.ศธ. ต้องการให้โรงเรียนที่มีศักยภาพและมีความพร้อมสูงอย่างเช่นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนา และแบ่งปันทรัพยากรที่มี รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายสู่มาตรฐานสากล ดังนั้น การดำเนินการนี้ถือว่าเป็นความร่วมมือในการพัฒนางาน การคิด วิเคราะห์ การเชื่อมโยงทำให้ผู้เรียนมีระบบการคิดอย่างเป็นตรรกะ มีเหตุและผลนำความรู้ไปสู่การอธิบาย โดย สพฐ. ร่วมกับ สสวท. และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมดำเนินการมาตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งขณะนี้อาจจะเป็นต้นแบบที่จะทดลองการทำงานร่วมกันเพียง 5 จุด แต่จะมีการขยายผลต่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป ภายใต้การขับเคลื่อนที่ผ่านมา

“สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำคือ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษา 2568 เริ่มภาคเรียนที่ 1 ครูต้องรู้ว่าจะต้องเติมเต็มอะไรให้ผู้เรียน ทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะให้ตรงจุด สามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากลให้ได้ ซึ่งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงทั้งด้านกายภาพ และคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น จึงเป็นกำลังสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนที่มีความพร้อมน้อย และต้องการเติมเต็ม เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกันทำให้เกิดปรากฏการณ์จุดนี้ ให้เด็กทุกคนได้รับโอกาส โดยอาศัยบุคลากรที่จะได้รับการเติมเต็มจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ครูแกนนำ ผู้อำนวยการโรงเรียน และศึกษานิเทศก์ เพื่อเติมเต็มให้กับเด็กได้รับการพัฒนาและเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงได้ โอกาสนี้ ขอเป็นกำลังใจและขอให้ทุก ๆ ท่านที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน สู้ไปด้วยกันเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ โดยมีโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงที่เข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้จะเป็นรางวัลของความภาคภูมิใจในการสร้างประโยชน์ต่อการศึกษาของประเทศต่อไป” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

28 โรงเรียนพี่เลี้ยงคู่พัฒนา ภาคเหนือ จับมือยกระดับคุณภาพ สร้าง “ฉลาดรู้ ฉลาดคิด ฉลาดทำ” มุ่งสู่สากล

Loading