
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้านวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติของเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลยางชุมน้อย (หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์) อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี นายทวีศักดิ์ ทรงอยู่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายวิทยา ไชยเดชกำจร นายอำเภอยางชุมน้อย นายสุเทพ ศรบุญทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ดร.พีระพรรณ ทองศูนย์ นางปุณิกา ธรรมนูญ นางสาวธรรศญา หล่าอุดม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 นางสาวพยัตติกา ฉายถวิล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลยางชุมน้อย ( หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2 – 4 หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฝ่ายท้องที่ท้องถิ่น และผู้นำภาคประชาสังคม ให้การต้อนรับ และติดตามความก้าวหน้าการบูรณาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบธรรมชาติ ภายใต้นวัตกรรม BBL PLUSH ยึดความต้องการเรียนรู้ของตัวเด็กเป็นหลัก ขณะที่ครูผู้สอนต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี เป็นการเปิดโลกกว้างทางการศึกษาผ่านระบบสื่ออิเล็คทรอนิคส์ และระบบ AI เสมือนว่าให้เด็กนักเรียนได้ฝึกพูด ฝึกอ่าน จนสามารถเขียน และโต้ตอบกับเจ้าของภาษาจริง
.
นางสาวพยัตติกา ฉายถวิล ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลยางชุมน้อย (หน่วยคุรุราษฎร์รังสรรค์) กล่าวว่า กระทรวง ศึกษาธิการ ได้สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา จำนวน 80 เครื่อง เพื่อรองรับนวัตกรรม BBL PLUSH หรือบูรณาการสอนภาษาอังกฤษ ผ่านระบบสื่ออิเล็คทรอนิคส์ และระบบ AI สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างชัดเจน ทำให้เด็กนักเรียนสามารถพูด อ่าน เขียน ฟัง และโต้ตอบกับเจ้าของภาษาได้จริง ที่สำคัญ ถูกต้องตามสำเนียงต้นแบบ เป็นการปรับบริบทโรงเรียนอนุบาลขนาดเล็กให้ยกระดับความทัดเทียมทางการศึกษาเท่ากับโรงเรียนอนุบาลขนาดใหญ่ และในอนาคตยังเป็น HUB รองรับเด็กนักเรียนในพื้นที่รอยต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กนักเรียน จำนวน 600 คน ครู 30 คน
.
ในโอกาสนี้ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวชื่นชมครูผู้สอนที่มีการปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งเป็นมิติใหม่ในการเปิดโลกว้างทางการศึกษาผ่านระบบสื่ออิเล็คทรอนิคส์ และระบบ AI ขณะเดียวกัน ได้เปิดโอกาสให้จังหวัดบุรีรัมย์ ในฐานะแขกผู้มาเยือน ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดระบบการศึกษาร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และเกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็กนักเรียน
.
ขอบคุณ ภาพ/ข่าว : ประชาสัมพันธ์ สพป.ศรีสะเกษ เขต 1











