สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ประเมินโรงเรียนเพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๗ ผ่านระบบออไลน์

ดร.กัญจนา สัตตรัตนำพร ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดพร้อมพบปะให้กำลังใจการประเมินโรงเรียนเพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับประถมศึกษา  ปีการศึกษา ๒๕๖๗ ผ่านระบบออไลน์ ณ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

วันจันทร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๘ ดร.กัญจนา สัตตรัตนำพร ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดพร้อมพบปะให้กำลังใจการประเมินโรงเรียนเพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๗ ผ่านระบบออไลน์ ณ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาได้เผยแพร่ผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการกิจกรรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เข้ากับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ผู้เรียนได้นำเสนอผลงานที่เกิดจาการเรียนรู้ ตามปรัชญาการเรียนรู้ของโครงการ ได้แก่ การเรียนรู้ร่วมกัน (Co – Construction) และการรู้คิด (Meta – Cognition) ผ่านกระบวนการสืบเสาะอิสระ และเพื่อสร้างเครือข่ายความมือทางวิชาการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา ผู้เข้ารับการประเมิน ผู้บริหาร คุณครูผู้สอน และนักเรียน โรงเรียนในโครงการรุ่นที่ ๒ และ รุ่นที่ ๓ ที่ขอรับการประเมินเพื่อรับตราพระราชทาน จำนวน ๒๑ โรงเรียน  คณะกรรมการประเมิน ศึกษานิเทศก์ และครูวิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer ; LT)  โดยมี นายสุพรมแดน ประทุมเมศ รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ กล่าวรายงาน และนางจุติมาพร เชียงกา ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

ดร.กัญจนา สัตตรัตนำพร ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ กล่าวว่าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กในระดับชั้นประถมศึกษาได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายของหลักสูตรการเรียนรู้ตามแนวทางของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (Co – Construction) และการรู้คิด (Meta – Cognition) และการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project approach) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ซึ่งจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ส่งเสริมพัฒนา ทักษะ ทางด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กประถมศึกษา ได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการ การเรียนรู้และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

Loading