
มื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2568 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีปิดการประชุมปฏิบัติการวางแผนการดำเนินงาน โครงการต่อยอดยุวทูตความดี จิตอาสา เพื่อพัฒนาแผ่นดิน ในระดับมัธยมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2568 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักเรียนจากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 41 คนโดยมีเป้าหมายหลักในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้แก่เยาวชน ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในระดับโรงเรียน ชุมชน และระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ่มเพาะภาวะผู้นำ การสื่อสารความดีในยุคดิจิทัล และการขยายผลความดีสู่สังคมในวงกว้าง ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคนดี คนเก่ง และคนกล้าเปลี่ยนแปลง ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการวางรากฐานเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อยอดยุวทูตความดี ให้ก้าวสู่มิติใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตสาธารณะ เข้ากับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่เยาวชนต้องมีทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการสื่อสาร และการลงมือปฏิบัติอย่างมีระบบและสร้างสรรค์ เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองดี มีจิตอาสา และสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่สังคมไทย ทั้งนี้ โครงการต่อยอดยุวทูตความดีฯ ถือเป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การส่งเสริมและผลักดันอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้แก่เยาวชน ผ่านการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในระดับโรงเรียน ชุมชน และระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบ่มเพาะภาวะผู้นำ การสื่อสารความดีในยุคดิจิทัล และการขยายผลความดีสู่สังคมในวงกว้าง ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการสร้างคนดี คนเก่ง และคนกล้าเปลี่ยนแปลง ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ ทักษะชีวิต และคุณธรรม จริยธรรม โครงการนี้จะไม่จบเพียงแค่เวทีการประชุมในวันนี้ แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างหน่วยงานในสังกัด สถานศึกษา ชุมชน และเครือข่ายพันธมิตร เพื่อยกระดับโครงการยุวทูตความดีให้เป็นกลไกการเรียนรู้ที่ส่งผลกระทบในระดับระบบ และขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมไทยให้ดีและยั่งยืนอย่างแท้จริง” ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

การประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปี และ 5 ปี ในการพัฒนาและต่อยอดการดำเนินงานของโครงการฯ โดยใช้กระบวนการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อออกแบบแนวทางที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ กิจกรรมในการประชุมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระดมสมอง และการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้เครื่องมือ SWOT ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน พร้อมกันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงพลังความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 พร้อมทั้งมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม และสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติ


