สพฐ. เดินหน้าเรียนดีมีความสุข ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2567

วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2567 โดยมี นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการ กพฐ. นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการ กพฐ. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. รวมถึงที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการ นำโดย พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อนนโยบาย ‘เรียนดี มีความสุข’ ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน สร้างโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครองมีสุขนั้น

สพฐ. จึงได้จัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. โดยตั้งเป้าหมายระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารของแต่ละสำนักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันแบบ One Team เพื่อเร่งนำนโยบายไปสู่เป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานแก่ รมว.ศธ. และ รมช.ศธ. ให้ทราบต่อไป

สำหรับการประชุมผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. ครั้งที่ 19/2567 ได้หารือข้อราชการที่สำคัญ อาทิ รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบาย สพฐ. รายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการอำนวยการฯ เรื่องการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 3/2567 การติดตามประเมินผลโครงการ/กิจกรรมตามข้อสั่งการ เลขาธิการ กพฐ. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ สรุปข้อสั่งการจากการประชุมทีมประชาสัมพันธ์ เสมา 1 การจัดสรรงบประมาณค่าจ้างเหมานักการภารโรง แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาของสามเณร รายงานการลงพื้นที่ในโครงการพระราชดำริโรงเรียนโมโกร สพม.ตาก รายงานผลการประชุมพิจารณาปรับปรุงโครงสร้าง ของ สพฐ. ตามแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม (ประเด็นการจัดตั้งสำนักบริหารการมัธยมศึกษา) การขับเคลื่อนธนาคารหน่วยกิต การขับเคลื่อนเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา Anywhere Anytime การขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA การขับเคลื่อน (ร่าง) พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของ สพฐ. เป็นต้น