สพม.19 พัฒนาครูโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก เพื่อยกระดับการศึกษา (มีคลิป)

https://www.youtube.com/watch?v=bEYP0I4PVhk&feature=youtu.be

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 ที่ห้องประชุมตะวันลับฟ้า สพม.19 นายสมคิด เกษดา  ผู้อำนวยการโรงเรียนผาสามยอดวิทยาคม ประธานกลุ่มจตุรภาคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู) เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O – NET)  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนระดับชั้น ม. 3 และชั้น ม. 6 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในกลุ่มจตุรภาคีและกลุ่มเมืองเชียงชม สพม.19  จังหวัดเลย จำนวน 10 โรงเรียน ประกอบด้วย  โรงเรียนผาสามยอดวิทยาคม โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม  โรงเรียนเลยสว่างวิทยาคม โรงเรียนผาน้อยวิทยาคม  โรงเรียนธาตุพิทยาคม โรงเรียนน้ำสวยพิทยาสรรพ์ โรงเรียนนาอ้อวิทยา  โรงเรียนเขาแก้ววิทยาสรรพ์  โรงเรียนโรงเรียนปากชมวิทยา และโรงเรียนคอนสาวิทยา  มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเกือบทุกรายวิชาและคะแนนเฉลี่ยรวมต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

 

ดังนั้น  การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพของสถานศึกษาและคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  กลุ่มจตุรภาคีและกลุ่มเมืองเชียงชม สพม.19”  จึงร่วมกันจัดทำโครงการ “การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูด้านการเขียนข้อสอบตามแนว PISA และการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์” จำนวนกว่า 200 คนขึ้น เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ทั้ง 2 กลุ่ม ในการเขียนข้อสอบตามแนว PISA และการเรียนการสอนแบบ Active Learning  และเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งในระดับสถานศึกษาและการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET ) ให้สูงขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างผู้บริหารกับผู้บริหาร และระหว่างครูกับครู ของโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มจตุรภาคีและกลุ่มเมืองเชียงชม  สพม.19

ในการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายณัฐภณ ดวงท้าวเศษ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เป็นประธานเปิดการอบรม และได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเขียนข้อสอบตามแนว PISA และการเรียนการสอนแบบ Active Learning  จำนวน 2 ท่าน คือ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ผู้อำนวยกิตติคุณโรงเรียนกำเนิดวิทย์ และ ดร.ปรีชาญ เดชศรี  อดีตผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และได้รับการสนับสนุนผู้ช่วยวิทยากรจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จำนวน 5 คน