โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา

สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ โดย นายประสิทธิ์ พิเศษ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา      ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕  นายประสิทธิ์ พิเศษ รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบูรณาการกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา เข้ากับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) พัฒนาครูระดับประถมศึกษาให้สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ (Hands-on) ตามปรัชญาการเรียนรู้ของโครงการซึ่งได้แก่การเรียนรู้ร่วมกัน (CO-Construction) และการรู้คิด (Meta-Cognition) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้ นางจุติมาพร เชียงกา ศึกษานิเทศก์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network : LN) นางระเบียบ เกตุชาติ ครูโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” วิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer : LT) และทีมวิทยากรผู้ช่วยจากโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ณ หอประชุมพิมานพรหม สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กในระดับชั้นประถมศึกษา ได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ของเด็กประถมศึกษา ได้ฝึกการสังเกต รู้จัดคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยการ การเรียนรู้และจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ภายใต้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทดลองนำร่องขยายโครงการสู่ระดับประถมศึกษากับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๘๓ เขตพื้นที่การศึกษา ในปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔  ใช้รูปแบบการบริหารโครงการเช่นเดียวกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย สามารถส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับนักเรียน พัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาได้เป็นอย่างดี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน มีโรงเรียนในโครงการทั้งสิ้น จำนวน ๒๐ โรงเรียน โดยมีโรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำของโครงการ