ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสื่อการเรียนการสอน เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเวทีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาสื่อการเรียนการสอน เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามโครงการประกวดสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อนวัตกรรมเพื่อเด็กพิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูบุคลากรมีความรู้ในการผลิตสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อนวัตกรรม นักเรียนได้รับการพัฒนาโดยใช้สื่อที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อนวัตกรรมตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละประเภทความพิการและเพื่อให้ครูและบุคลากรรวมทั้งบุคคลภายนอกได้เข้ามาศึกษาแหล่งเรียนรู้สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นและสื่อนวัตกรรม โดยมีครูในสังกัด สนใจและสมัครเข้าร่วมโครงการฯทั้งสิ้น 38 รายการ ได้เเก่ สื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน จำนวน 33 รายการ และสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 รายการ ณ ห้องประชุมชั้น2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกการประกวดสื่อ ซึ่งประกอบไปด้วย นายพันคำ ศรีพรม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 32 จังหวัดอุบลราชธานี นายนันทวัฒน์ กาฬจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี นางธณัฐชนก ฉิมพลี รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานีราชธานี นางสาวชนิดา แก้วดี รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานีราชธานี นางจามจุรี สมสวย รองผู้อำนวยการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ช่วยราชการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี และ นางสาวสุดารัตน์ อาลัยรัก รองผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 32 จังหวัดอุบลราชธานี ตามเกณฑ์การพิจารณาและตัดสินการประกวด “สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา” เน้นการพิจารณาใน 3 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านเนื้อหา พิจารณาด้านความถูกต้องตามวิชาการ ความชัดเจน ความสัมพันธ์ต่อเนื่องและสอดคล้องต่อการพัฒนาตามระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์เกิดองค์ความรู้ 2.ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional design) พิจารณาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความทันสมัย ความเหมาะสมกับ การนำไปใช้ เทคนิคต่างๆ การบูรณาการและความเป็นนวัตกรรม 3.ด้านการประเมินผลการใช้ พิจารณาความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะกระบวนการการเรียนรู้ และคิดวิเคราะห์โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนี้ 1. นักเรียนได้รับการพัฒนาโดยใช้สื่อที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น/สื่อนวัตกรรมตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละประเภทความพิการ 2. ครูและบุคลากรรวมทั้งบุคคลภายนอกได้เข้ามาศึกษาแหล่งเรียนรู้สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น/สื่อนวัตกรรม 3. มีสื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น/สื่อนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเด็กพิการ

นายนันทวัฒน์ กาฬจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการพิจารณาคัดเลือกการประกวดสื่อฯ เปิดเผยว่า เวทีเเลกเปลี่ยนเรียนนี้ สำหรับครูผู้สอนในการนำเสนอผลงานสื่อที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน ศูนย์การศึกษาพิเศษฯ โดยมุ่งพัฒนาเพื่อให้การดำเนินการมีความต่อเนื่องและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี เล็งเห็นถึงความสำคัญของ “สื่อการสอน” ในฐานะที่เป็นสื่อกลางการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ สนับสนุนพัฒนาการการเรียนรู้ ตามช่วงอายุของผู้เรียน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนทุกช่วงวัย หาวิธีการพิเศษ จัดหา ผลิตสื่อเพิ่มเติม จากการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มตามที่มีอยู่ได้ เด็กพิการจะพัฒนาได้ ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลของบุคคลในครอบครัว มีพ่อเม่ และครู ด้วยความรัก แล้วจึงค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ โดยให้เวลา และโอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ การดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ครูผู้สอน ผู้ปกครองทุกคน มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมหัวใจ โดยมองว่า “ครูทุกคนควรรักเด็กนักเรียนให้เหมือนกับรักลูกของตัวเอง” เพื่อให้ศูนย์การศึกษาพิเศษฯ มีมาตรฐานในจัดการศึกษาในลักษณะบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ( Early Intervention : EI ) และเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ บุคลากรศูนย์ฯและผู้ดูแลคนพิการให้มีศักยภาพในการให้บริการแก่คนพิการ และเครือข่ายให้การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ซึ่งในอนาคตศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกัน ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ สาธารณสุข หรือ โรงพยาบาลต่างๆ เพื่อส่งต่อทางด้านการจัดการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน ได้รับบริการจัดการศึกษาในลักษณะบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ในการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา

ภาพ/ข่าว : นางสาวจิราวัช จันพวง, นายณัฐภัทร สมสวย
รายงานข่าว : ว่าที่ ร.ต.กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี
โทรศัพท์ : 045-953305
โทรสาร : 045-953305
E-Mail : ubonspecial10@gmail.com
เว็ปไซต์ https://usec10-map.thai.ac/home/, https://www.ubonspecial10.com

กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ
Latest posts by กิตติศักดิ์ ไชยศรีษะ (see all)