งานศิลปหัตกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ นำโดย นายสุชิต ชมภูวงศ์ ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ณ โดมโรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  เป็นประธานในพิธีฯ

เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๖ สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ นายสุชิต ชมภูวงศ์ ผอ.สพป.บุรีรัมย์เขต ๑ พร้อมด้วยบุคลากรในสังกัด ร่วมจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ณ โดมโรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในทางศิลปหัตกรรม ทางด้านวิชาการ ทักษะด้านวิชาชีพ และเทคโนโลยี สนับสนุนผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ ได้เข้าร่วมการดำเนินงานในกิจกรรมการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๖  โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานฯ (อภิรักษ์ จันทวี : ภาพ)

นายสุชิต ชมภูวงศ์ ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  เพราะ “ศิลปหัตถกรรมนักเรียน” เป็นกิจกรรมที่กระทรวงศึกษาธิการรับเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเพื่อสนองพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ที่เป็นผู้ริเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมือง ปี พ.ศ. ๓๔๕๕ จัดขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมาย แนะนำชักจูงให้เด็กชาย เด็กหญิงในสมัยนั้นได้เอาใจฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่าง ๆ เพื่อจะกัน การที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมในการเป็นเสมียนหรือเข้าทำราชการให้น้อยลง” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเริ่มจัดงานขึ้น ใน ปี ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต ๑ ในครั้งที่ผ่านมา ได้เข้าร่วมการแข่งขันในระดับชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองทุกสาระการเรียนรู้ ในหลายกิจกรรม ซึ่งงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน มีประโยชน์ต่อการพัฒนานักเรียนทุกคน ทุกระดับ เป็นการสร้างโอกาสให้นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ สู่ความเป็นเลิศ ทั้งด้านทักษะอาชีพ และทักษะวิชาการ นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ เกิดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษา ซึ่งหากนักเรียนได้รับการพัฒนาต่อยอดความสามารถ จนเกิดเป็นความชำนาญในงานอาชีพ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นทักษะด้านงานอาชีพสำหรับตนเอง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกดประโยชน์ต่อสังคมในอนาคต