สพฐ. ฉับไว ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งผลรองผอ. คุยแชทเชิงชู้สาวกับนักเรียนหญิง

วันที่ 10 มกราคม 2567 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช โฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โฆษก สพฐ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้าราชการตำแหน่งรองผู้อำนวยโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ในจังหวัดตาก มีพฤติกรรมสื่อสารทางสื่อออนไลน์ไม่เหมาะสมกับนักเรียนหญิง โดยมีการสื่อสารด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสมเชิงชู้สาวกับนักเรียนหญิง นั้น

นางเกศทิพย์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำโดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงเรื่องที่เกิดขึ้น มิได้ปล่อยปละละเลยแต่อย่างใด โดยได้มอบหมายให้ตน ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโฆษก สพฐ. พร้อมด้วยนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ลงพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อติดตามและดูแลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้สั่งการให้ รองผู้อำนวยการโรงเรียนคนดังกล่าว มาปฏิบัติหน้าที่ที่ สพฐ. ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 เพื่อมิให้เข้าไปมีผลกระทบต่อการสืบสวน และพยานหลักฐาน พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ซึ่งคณะกรรมการสืบสวนฯก็ได้ดำเนินการหาข้อเท็จจริงโดยทันที

โดยล่าสุด สพฐ. ได้พิจารณารายงานการสืบสวนข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการฯแล้ว พบว่ามีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการคนดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนของข้าราชการคนดังกล่าว มาปฏิบัติราชการที่ สพฐ. ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 ด้วย เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ และสะดวกในการดำเนินงานของคณะกรรมการสอบสวน  ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด

“ด้วยประเด็นดังกล่าวกระทบต่อความปลอดภัยของนักเรียน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. จึงได้สั่งการให้ สพฐ. ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งหลังจากย้ายข้าราชการคนดังกล่าวให้มาปฏิบัติราชการที่ส่วนกลางแล้ว ทางคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯ ก็จะดำเนินการสอบสวนทางวินัยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งหากผลสอบออกมาสรุปว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริง ก็จะมีโทษความผิดไล่ออกและปลดออกสถานเดียว ตามประกาศแนวทางการพิจารณาโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดวินัยฯ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ หากพบว่าครูหรือผู้บริหาร ร่วมปกปิดความผิดหรือละเลยที่จะปกป้องสวัสดิภาพลูกศิษย์ของตน ก็จะมีการพิจารณาโทษต่อไป โดยเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ” โฆษก สพฐ. กล่าว

วันที่ 10 มกราคม 2567 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช โฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โฆษก สพฐ.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้าราชการตำแหน่งรองผู้อำนวยโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ในจังหวัดตาก มีพฤติกรรมสื่อสารทางสื่อออนไลน์ไม่เหมาะสมกับนักเรียนหญิง โดยมีการสื่อสารด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสมเชิงชู้สาวกับนักเรียนหญิง นั้น

นางเกศทิพย์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นำโดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงเรื่องที่เกิดขึ้น มิได้ปล่อยปละละเลยแต่อย่างใด โดยได้มอบหมายให้ตน ในฐานะรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโฆษก สพฐ. พร้อมด้วยนางภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ลงพื้นที่จังหวัดตาก เพื่อติดตามและดูแลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้สั่งการให้ รองผู้อำนวยการโรงเรียนคนดังกล่าว มาปฏิบัติหน้าที่ที่ สพฐ. ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 เพื่อมิให้เข้าไปมีผลกระทบต่อการสืบสวน และพยานหลักฐาน พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ซึ่งคณะกรรมการสืบสวนฯก็ได้ดำเนินการหาข้อเท็จจริงโดยทันที

โดยล่าสุด สพฐ. ได้พิจารณารายงานการสืบสวนข้อเท็จจริงจากคณะกรรมการฯแล้ว พบว่ามีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จึงได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการคนดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567 พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนของข้าราชการคนดังกล่าว มาปฏิบัติราชการที่ สพฐ. ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2567 ด้วย เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ และสะดวกในการดำเนินงานของคณะกรรมการสอบสวน  ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด

“ด้วยประเด็นดังกล่าวกระทบต่อความปลอดภัยของนักเรียน พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. จึงได้สั่งการให้ สพฐ. ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งหลังจากย้ายข้าราชการคนดังกล่าวให้มาปฏิบัติราชการที่ส่วนกลางแล้ว ทางคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯ ก็จะดำเนินการสอบสวนทางวินัยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งหากผลสอบออกมาสรุปว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริง ก็จะมีโทษความผิดไล่ออกและปลดออกสถานเดียว ตามประกาศแนวทางการพิจารณาโทษข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดวินัยฯ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ หากพบว่าครูหรือผู้บริหาร ร่วมปกปิดความผิดหรือละเลยที่จะปกป้องสวัสดิภาพลูกศิษย์ของตน ก็จะมีการพิจารณาโทษต่อไป โดยเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยของนักเรียนทุกคนเป็นเรื่องสำคัญ” โฆษก สพฐ. กล่าว