ตรวจ ประเมินผลการดำเนินงาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย                     

นายสุชิต ชมภูวงศ์ ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตรวจ ประเมินผลการดำเนินงาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมสรรค์กิจไมตรี สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เพื่อตรวจ ประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๖

เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๗ นายสุชิต ชมภูวงศ์ ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ตรวจ ประเมินผลการดำเนินงาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมสรรค์กิจไมตรี สพป.บุรีรัมย์ เขต ๑ ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์       ที่เป็นผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network : LN) ครูวิทยาศาสตร์เครือข่ายท้องถิ่น (Local Trainer : LT) ที่ผ่านการอบรมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับปฐมวัย ซึ่งร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจ ประเมินผลงานเพื่อขอรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย จำนวน ๒๔ คน โดยมี นางสาวพรทิพทย์ ทวีวัฒน์โสภา รอง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๓ (ช่วยราชการ) กล่าวรายงาน

วัตถุประสงค์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ตรวจ ประเมินผลการดำเนินงาน โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เพื่อตรวจ ประเมินผลการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย จำนวน ๕๕ โรงเรียน ตรวจ ประเมินงาน ๓ ด้าน ด้านที่ ๑ กิจกรรม ๒๐ กิจกรรม  ด้านที่ ๒ โครงงานโดยใช้กระบวนการสืบเสาะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้านที่ ๓ แบบสอบถามผู้บริหารสำหรับการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทยในโรงเรียน และเพื่อสรุป พร้อมนำส่งข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับโรงเรียนที่ผ่านการประเมินและได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๖  

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริ ให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่อง ในประเทศไทย เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ ทักษะ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยมีเป้าหมายในการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติและเทคโนโลยีด้วยกิจกรรมที่สร้างความสนุก ความเพลิดเพลิน ความสนใจ ใคร่รู้ และความกระตือรือร้นให้นักเรียนหัดสังเกต รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเหล่านี้เติบโตขค้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร หรือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีจิตวิทยาศาสตร์และมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป