วันที่ 17 มีนาคม 2565 นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายกัมปนาท ศรีเชื้อ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นางสาวมัณฑิกา ประชากิจ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 นางสาวเกศรา เชิงค้า นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 นางสาวไพรัตน์ ยุทธิสาร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.เชียงคาน นางสาวแสงเงิน เฝ้าสันเทียะ นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ และ กรมอนามัย รวมทั้งคณะทำงานในพื้นที่ ลงพื้นที่จังหวัดเลยเพื่อติดตามการจัดการเรียนรู้ การอ่านออกเขียนได้ ซึ่งโรงเรียนนี้ใช้ DLTV ในการจัดการเรียนการสอนและทีมวิชาการ รร คัดกรองเบื้องต้นพบนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงนำทีมร่วมแก้ปัญหาเพื่อเติมพัฒนาการให้นักเรียน ณ โรงเรียนบ้านอุมุง และโรงเรียนบ้านห้วยหินซาน้ำอ้อมพรหมมานุสรณ์ อ.เชียงคาน จ.เลย
นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. และโฆษก สพฐ. กล่าวว่า วันนี้ได้มาติดตามการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านอุมุง และโรงเรียนบ้านห้วยหินซาน้ำอ้อมพรหมมานุสรณ์ พบว่ามีการผสมผสานการสอนแบบปกติโดยครูในห้องเรียน กับการสอนผ่านสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV หรือครูตู้ เนื่องจากปัญหาครูไม่ครบชั้นไม่ตรงเอก ซึ่งทำให้สามารถเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กได้ดี โดยครูตู้เป็นสื่อในการสอน ทำให้ครูสามารถสังเกตนักเรียนได้รายบุคคลและบันทึกหลังสอนว่าเด็กคนไหนตามไม่ทัน สามารถเติมเต็มนักเรียนได้
นางเกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า อีกเรื่องที่ได้มาติดตามก็คือเรื่องของการคัดกรองเบื้องต้นของเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะการเรียนรู้ถดถอยเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้ หรืออาจจะเกิดจากการเข้าถึงการเรียนรู้เรื่องการอ่านออกเขียนได้ยังไม่ดีพอ ซึ่งน่าจะมีการสอนเพิ่มเติมที่ช่วยทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ ขอเน้นย้ำให้ร่วมกันให้ความสำคัญกับการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน เพราะนอกจากใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันของเด็กแล้ว ยังเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ อีกด้วย สอดคล้องกับนโยบายของนางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. เรื่องการลดช่องว่างการเรียนรู้ (Learning Gaps) และลดผลกระทบด้านความรู้ที่ขาดหายไป (Learning Loss) โดยการสอนเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมให้นักเรียนมีคุณภาพและนโยบายของนายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. เรื่องการอ่านออกเขียนได้ ภายใต้ “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” ซึ่งตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 อ่านคล่องเขียนคล่อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง
“ส่วนเรื่องการคัดกรองเบื้องต้น พบว่า มีเด็กนักเรียนจำนวนหนึ่งที่มีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวอาจทำให้เด็กกลุ่มนี้เกิดปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ วันนี้จึงได้เชิญผู้แทนจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาร่วมกันติดตามและบูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกท่านทุกฝ่ายเป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าทุกหน่วยงานพร้อมใจกันเข้ามาดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเต็มที่ โดยเห็นประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า ‘เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ อย่างแท้จริงค่ะ” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การคัดกรองเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ช้าและ LD โดยครูและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้การดูแลเบื้องต้นในโรงเรียนและส่งต่อเด็กกลุ่มเสี่ยงไปยังระบบสาธารณสุขให้ได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง อีกทั้งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้ให้ข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ เพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสทางการศึกษา และดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมอารมณ์ ป้องกันไม่ให้เด็กก่อความรุนแรงในอนาคต
ทางด้าน รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เสนอเเนะว่า ครูต้องมีทักษะในการแยกเด็กที่มีภาวะเรียนรู้ช้าและ LD ได้อย่างถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือ KUS-SI ด้านการจัดการเรียนการสอนเด็ก LD พร้อมทั้งเน้นการพูด ฟัง อ่าน เขียนภาษาไทย และการจัดกิจกรรมโดยครูภาษาไทยในช่วงเช้าทุกวัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อยสองเดือน และขอฝากทางผู้บริหารของเขตพื้นที่ฯ เพิ่มการพัฒนาศักยภาพการสอนของครูภาษาไทยให้ทุกโรงเรียน เพื่อให้ครูมีทักษะพื้นฐานในการสอนเด็ก LD ได้ ซึ่งเน้นย้ำว่า การคัดกรองเบื้องต้นใช้เพื่อเติมการเรียนรู้ให้กับเด็กเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ไม่เน้นการวินิจฉัย และเมื่อเติมในระยะเวลาหนึ่ง จะพบเลยว่า เด็กจะสามารถอ่านออกเขียนได้ และมีความสุขในการเรียนรู้ แต่ถ้าเด็กยังไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ จะร่วมกันสร้างแนวทางการส่งต่อเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ต่อไป
ขณะที่หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 อุดรธานี โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และโรงพยาบาลเชียงคาน ได้ร่วมทำงานเป็นทีมในการดูแลเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนร่วมกับเขตพื้นที่ฯ รวมถึงศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะในด้านการคัดกรองเด็กกลุ่มเสี่ยง การรักษา และการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล โดยเน้นไปที่การแนะนำให้ครูผู้ดูแลสามารถคัดกรองเด็กที่เป็น LD และเด็กเรียนรู้ช้าได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งแนะนำการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนด้วยโปรแกรม RTI เพื่อดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและการส่งต่อเด็กที่มีปัญหา LD เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุข โดยใช้เครื่องมือในการวินิจฉัยโรค LD เพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลช่วยเหลือเด็ก LD ในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม เเละให้ข้อมูลกับผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง
- รองเลขาธิการ กพฐ. “เกศทิพย์” เข้าเฝ้าฯ ตามหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 - 5 ธันวาคม 2024
- สพฐ. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร - 5 ธันวาคม 2024
- สพฐ. ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 - 5 ธันวาคม 2024