สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 รับการตรวจติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

..**//วันที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ  ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 2  โดยมีนายสุรทิน  ทิพย์อักษร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 2 , นายสมชาติ ไกรแก้ว นายอัมพร ภาระพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 และคณะ ให้การต้อนรับ  ณ ห้องประชุม สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 และในเวลา 11.00 น. ลงพื้นที่ติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ณ โรงเรียนชุมชนบ้านนาวา  ในการนี้ นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาตรวจราชการ ณ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย

..*//สำหรับการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  รูปแบบ On-Site จำนวน 64 โรงเรียน  คิดเป็นร้อยละ 34.04  รูปแบบ On-air จำนวน 7 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 3.72  รูปแบบ On-Demand  จำนวน 2 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 1.06  รูปแบบ Online จำนวน 9 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 4.79  รูปแบบ On-Hand จำนวน 106 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 56.38  และสำหรับการสำรวจที่เปิดเรียนแบบ  On-Site ไม่สามารดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบ  On-Site ได้เนื่องจากตามคำสั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ 1948/2564 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2564  จึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบ  On-Hand  เป็นจำนวน 170 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 90.43

..**//การสนับส่งเสริมสนับสนุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 แนะนำประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ ครูพร้อม.com ให้ทุกโรงเรียนทราบ แนะนำ แจ้งช่องทางการรับชมโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้ทุกโรงเรียนทราบ ส่งมอบใบงาน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ให้โรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 60 คน จำนวน 22 โรงเรียน

..**//ปัญหาอุปสรรค 1. นักเรียนเกิดความชะงักในการเรียนรู้ เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไป รวมทั้งมีการเรียนรู้ที่ไม่ต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ครอบครัวส่วนหนึ่งขาดความพร้อมในการสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนที่บ้าน เนื่องจากผู้ปกครองต้องประกอบอาชีพ จึงไม่มีเวลาในการเอาใจใส่การเรียนของบุตรได้อย่างเต็มที่ และ 3. นักเรียนบางส่วนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกับครูประจำชั้น เนื่องจากสัญญาณโทรศัพท์ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เมือมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับใบงานที่ครูแจกให้ไม่สามารถคลายข้อสงสัยได้ เพราะบางครอบครัวผู้ปกครองไม่มีความรู้ในเรื่องที่นักเรียนต้องการทราบ

..**//ข้อเสนอแนะควรจัดทำและพัฒนาแบบเรียนสำเร็จรูปและโรงเรียนต้องให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง