โรงเรียนศรีสงครามวิทยา สพม.เลย หนองบัวลำภู พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน โรงเรียนศรีสงครามวิทยา  ชื่อผู้รายงาน : นายกมล  เสนานุช  ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย คำสำคัญ : แหล่งเรียนรู้, การพัฒนาแหล่งเรียนรู้, การประเมินโครงการ ปีที่ทำการประเมิน : ปีการศึกษา 2562

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนโรงเรียนศรีสงครามวิทยาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ประเมินปัจจัย ประเมินกระบวนการและประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับปริมาณของแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน ทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนของครู ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รวมทั้งสิ้น จำนวน 810 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 335 คน ครู จำนวน 141 คนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 334 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผลผลิต ปัจจัยนำเข้าบริบท และกระบวนการโดยผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้

1.  ผลการประเมินบริบท โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโครงการ

2.  ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินคือ ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน ความพร้อมของอาคารสถานที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินความเพียงพอของงบประมาณที่ใช้ได้รับเงินสนับสนุนเพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินงานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน

3.  ผลการประเมินกระบวนการ โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การมีส่วนร่วมของนักเรียนเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน การนิเทศติดตามโครงการ และการมีส่วนร่วมของครูเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

4.  ผลการประเมินผลผลิต โดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินคือ ปริมาณของแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาหลากหลายตามความต้องการของนักเรียน
ครูและผู้ปกครองนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 99.27 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพนักเรียน มีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 80.59 ผ่านเกณฑ์การประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องโดยภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดย่อย พบว่า ทุกตัวชี้วัดย่อยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ความพึงพอใจของครู และความพึงพอใจของนักเรียน

………………………………………………………………….