ผอ.สพม.๓๓ รับการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงครบรอบ ๑ ปี

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓ ให้การต้อนรับคณะกรรมการประเมิน (Evaluation Team) ในการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. (นายสำเริง บุญโต ผอ.สพม.๓๓) ในโอกาสปฏิบัติงานในหน้าที่ตามข้อตกลง ครบรอบการประเมิน ๑ ปี ประกอบด้วย
๑. นายกิตติ บุญเชิด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑ ประธานกรรมการ
๒. นายวิชา มานะดี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๒ กรรมการ
๓. นายสมุทร สมปอง อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑ กรรมการและเลขานุการ และคณะ ณ ห้องประชุมคชาธาร อาคารเศวตกุญชร สพม.๓๓

ซึ่ง นายสำเริง บุญโต ผอ.สพม.๓๓ ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานในรอบระยะเวลา ๑ ปีที่ผ่านมาตามองค์ประกอบ ๓ องค์ และ ๑๔ ตัวชี้วัด  ภายใต้ TPS Model (3 : 3 : 3) 3 Main Teams 3 Partnerships 3 Success

หลังจากนั้น คณะกรรมการได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการ มหกรรม Best Practices ของบุคลากร กลุ่มต่าง ๆ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา Best Practices ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในสังกัด สพม.๓๓ เพื่อต้อนรับและนำเสนอต่อ คณะกรรมการประเมิน (Evaluation Team) อาทิ
๑.กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา นำเสนอ Best Practices เรื่อง การพัฒนาเครือข่ายการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการเปิดชั้นเรียน (Lesson Study)
๒.กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลฯ นำเสนอ Best Practices เรื่อง การจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) ในสถานศึกษา
๓.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา นำเสนอ Best Practices เรื่อง การพัฒนากิจกรรมลูกเสือของสำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๓
๔.กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา นำเสนอ Best Practices เรื่อง ระบบการสืบค้นฐานสถิติ และการจัดทำหนังสือราชการ
๕.กลุ่มบริหารงานบุคคล นำเสนอ Best Practices เรื่อง การยื่นคำร้องขอคัดสำเนาทะเบียนประวัติออนไลน์
๖.กลุ่มกฎหมายและคดี นำเสนอ Best Practices เรื่อง การสร้างระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการข้อร้องเรียนการดำเนินการสอบสวนทางวินัย และภารกิจอื่นโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
๗.กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ นำเสนอ Best Practices เรื่อง ดระบบติตามการขอเบิกค่ารักษาพยาบาล การศึกษาบุตรสำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และข้าราชการบำนาญ ออนไลน์
๘.กลุ่มอำนวยการ นำเสนอ Best Practices เรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการข้อมูลงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ชื่อ ระบบบริการงานประมวลผลและตรวจติดตาม (รางวัล OBEC AWARDS ระดับชาติ ครั้งที่ ๗ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ “รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง” ด้านบริหารจัดการ นางชัญญรัชญ์ ชูทอง นักวิชาการศึกษา สพม.๓๓ ด้านบริหารจัดการ)
๙.กลุ่มนโยบายและแผน นำเสนอ Best Practices เรื่อง การจัดทำคำของบประมาณค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นที่ชำรุดทรุดโทรมและประสบอุบัติภัย
๑๐.TPS Model 3 : 3 : 3 โดย ผอ.สฤษดิ์ วิวาสุขุ ผู้อำนวยการโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ และทีมงาน

นอกจากนี้ยังมี Best Practices ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ดังต่อไปนี้

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) ระดับชาติ ครั้งที่ ๗ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ “รางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง”
๑.นายอนุชา หลิมศริวงษ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบัวเชดวิทยา (ปัจจุบัน ผอ.โรงเรียนสุรวิทยาคาร) ประเภทรางวัล ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ด้าน บริหารจัดการ
๒.นายชวิศ สมบัติวงศ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนพระแก้ววิทยา ประเภทรางวัล รองผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยมระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ด้าน นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
๓.นายสุทิตย์ สันทัยพร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสิรินธร ประเภทรางวัล ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านวิชาการ
๔.นายจันทร์ ธุนาสูรย์ อดี่ตช่างไม้ระดับ ช๔ โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการ) ประเภทรางวัล ลูกจ้างยอดเยี่ยมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

Best Practices ของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ IQA AWARD ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
๑.โรงเรียนสิรินธร ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
๒.โรงเรียนบัวเชดวิทยา ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่
๓.โรงเรียนแตลศิริวิทยา ประเภทสถานศึกษาขนาดกลาง
๔.โรงเรียนโนนเทพ ประเภทสถานศึกษาขนาดเล็ก

Best Practices ของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวด Best Practices ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๑.โรงเรียนที่ใช้คุณธรรมเป็นฐานในการพัฒนา โดย โรงเรียนแนงมุดวิทยา
๒.โรงเรียนที่ปลูกฝังคุณลักษณะผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ ๒๑ โดย โรงเรียนพนาสนวิทยา
๓.โรงเรียนโครงการมาตรฐานสากล โดย โรงเรียนสุรวิทยาคาร
๔.โรงเรียนที่มีการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่เป็นเลิศ โดย โรงเรียนแตลศิริวิทยา
๕.โรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา โดย โรงเรียนบัวเชดวิทยา
๖.โรงเรียนที่ใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการพัฒนาวิชาชีพ โดย โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์
๗.โรงเรียนที่มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบ โดย โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์
๘.โรงเรียนที่ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดย โรงเรียนเทพอุดมวิทยา
๙.โรงเรียนที่นำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดย โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย
๑๐.โรงเรียนที่จัดกรรมกรรมนักเรียน (กิจกรรมในเครื่องแบบ) โดย โรงเรียนจารย์วิทยาคาร
๑๑.โรงเรียนที่ขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning โดย โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา
๑๒.โรงเรียนที่จัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โดย โรงเรียนขนาดมอญพิทยาคม
๑๓.ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม โดย โรงเรียนลานทรายพิทยาคม
๑๔.ด้านกระบวนการบริหารจัดการเรียนรวม, ด้านสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวม, ด้านการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเรียนรวม โดย โรงเรียนนารายณ์คำผงวิทยา

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
๑.https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1823040981152706&type=1&l=aff46d0191
๒https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1823136554476482&type=1&l=9f241628c2