ขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ : การประชุมปฏิบัติการโรงเรียนในโครงการฯ

กิจกรรม “การประชุมปฏิบัติการโรงเรียนในโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ และการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ” ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมศรีลำดวนแกรนด์ โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

วันที่ 19 ธันวาคม 2561 คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ภาคีเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้จังหวัดศรีสะเกษ (Sisaket Learning Partnership : SLP) กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจล สถาบันอาศรมศิลป์ สกว. TDRI และ TEP ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมดังกล่าว เริ่มด้วย นายอุดมศักดิ์ เพชรผา รองศึกษาธิการจังหวัด รักษาการในตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ เลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธีเปิด นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ จากนั้นประธานกล่าวเปิดและบรรยายพิเศษ “พื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษา โอกาสการมีส่วนร่วมพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษเพื่อคนศรีสะเกษ”

1. นายอุดมศักดิ์ เพชรผา รองศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอกระบวนการคัดเลือกสถานศึกษานำร่องการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562

2. นางรัตนา กิติกร ผู้จัดการโครงการมูลนิธิสยามกัมมาจล นำเสนอ “แนวทางการพัฒนาโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562” – เป้าหมาย ผลลัพธ์ ที่คาดหวัง – บทบาทสยามกัมมาจล และสถาบันอาศรมศิลป์ ในการเข้ามาร่วมกับคณะกรรมกาขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม สนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน – Time line จะทำอะไรร่วมกัน

3. แบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุม ตามกลุ่มภาคีเชิงพื้นที่ “การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ”

กลุ่มที่ 1 โรงเรียนนำร่องนวัตกรรม 42 โรงเรียน (ผู้บริหาร และครู) แยกกลุ่มย่อย 6 กลุ่ม ระดมสมอง เป้าหมาย เพื่อเห็นพลัง และทุนเดิมของการเป็น Change Agent เห็นความต้องการสนับสนุน และข้อเสนอข้อปลดล็อกต่างๆ โจทย์ (Share vision โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาศรีสะเกษ ปี 2562, เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรในห้องเรียน เพื่อให้เกิดผลเด็กอย่างไร, ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น โรงเรียนจะทำอะไร อย่างไร, ความคาดหวังว่าจะได้พัฒนาอะไร และตัวชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียน, เหตุผลในการเลือกนวัตกรรมเข้ามาเพื่อ ตอบโจทย์ รร., ในการปรับเปลี่ยน อะไรที่ต้องปรับเปลี่ยน /เสนอให้มีการปรับเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนได้ตามเป้าหมาย (ข้อเสนอ ปลดล็อก)

กลุ่มที่ 2 ภาคีการศึกษา (ศธจ. เขตพื้นที่ อปท.) ระดมสมอง ประเด็นข้อเสนอแนะเพื่อการปลดล็อก กลระดับเขต ที่เป็นนวัตกรรมกลไกการทำงานร่วมกัน ข้อเสนอปลดล็อก (เอื้อต่อการจัดการใหม่) ต้องการบอกว่า กระบวนการขับเคลื่อนจะทำงานข้ามแท่ง และต้องการการสนับสนุนอย่างไร เพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการเชิงนวัตกรรมเชิงพื้นที่

กลุ่มที่ 3 ภาคีภาคธุรกิจ ระดมสมอง ประเด็นทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดศรีสะเกษ และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม, บอกความต้องการ output outcome การศึกษาที่ต้องการ เพื่อให้เห็นว่า ต้องการคนแบบไหน รองรับกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ, บทบาทการสนับสนุน

กลุ่มที่ 4 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ปกครอง/ชุมชน) แยกกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ระดมสมองประเด็นความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน ต่อการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาลูกหลาน (ความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน, ความเข้าใจต่อบทบทของตัวเอง, บทบาทในการเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียน และนอกห้องเรียน) โจทย์ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ชุมชน อยากเห็นลูกหลานของตัวเอง ออกมาเป็นอย่างไร (ความรู้ ความสามารถ และบุคลิก ที่ต้องการ) และการมีส่วนร่วม บทบาทการมีส่วนร่วมและสนับสนุนโรงเรียน

กลุ่มที่ 5 กลุ่มเยาวชน ระดมสมอง ประเด็นความต้องการในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง เป้าหมาย (เป้าหมายของตัวเขาเอง ความต้องการของเด็กต่อการจัดการศึกษา) โจทย์ เป้าหมายชีวิตของเขาคืออะไร ชอบอะไร ทำอะไร, อะไรรอบตัวเขาที่มันจะสนับสนุน (เป็นอย่างไร/เพราะอะไร, สิ่งที่อยากให้เป็น (ตัวเอง/เพื่อน/ห้องเรียน/โรงเรียน/ชุมชน)